วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เคล็ดลับที่โรงเรียนไม่สอน..ตอน "รู้ก่อนเปิดบัญชี”"



วิธีเลือกโบรกเกอร์ออนไลน์ให้ถูกใจ!!

ในการลงทุนในตลาดทุน ทั้งตลาดหุ้นและอนุพันธ์  ผู้ลงทุนทุกคนน่าจะรู้จักบริษัทหลักทรัพย์ หรือที่มักเรียกกันว่าโบรกเกอร์ ซึ่งก็คือผู้ที่ให้บริการในการรับคำสั่งซื้อขายหุ้นจากผู้ลงทุน รวมไปถึงการรับชำระค่าหุ้น การส่งมอบ ไปจนสิ้นสุดกระบวนการ โดยคิดค่าบริการจากผู้ลงทุนเป็นค่าธรรมเนียม นอกจากนี้ยังมีบริการหลังการซื้อขาย โดยดูแลเรื่องเงินปันผล การจองซื้อหุ้นที่ออกใหม่ รวมถึงการวิเคราะห์หุ้น และให้ข้อมูลข่าวสารประกอบการตัดสินใจ 

ในปัจจุบัน โบรกเกอร์ส่วนใหญ่มีบริการซื้อขายทั้งผ่านเจ้าหน้าที่การตลาดโดยตรงและซื้อ ขายด้วยตัวเองผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งขณะนี้ตลาดหลักทรัพย์ฯ มีสมาชิกทั้งสิ้น 39 โบรกเกอร์ ในจำนวนนั้นมีโบรกเกอร์ 33 ราย ที่ให้บริการซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ตควบคู่กัน 

สิ่งที่ควรพิจารณาในการสรรหาโบรกเกอร์คู่ใจในการซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ต  ผู้ลงทุนต้องพิจารณาเลือกผู้ที่มีความน่าเชื่อถือ ไว้ใจได้ ทั้งในแง่ของตัวบริษัท และเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการแก่ผู้ลงทุนโดยตรง ซึ่งนอกเหนือจากใบอนุญาตการประกอบธุรกิจการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ซึ่งได้รับจากสำนักงานก.ล.ต.แล้ว ผู้ลงทุนต้องพิจารณาในเรื่องสำคัญอื่น ๆ ดังนี้ค่ะ

1. ฐานะทางการเงินของบริษัท ดูว่าบริษัทมีฐานะการเงินที่มั่นคงน่าเชื่อถือหรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้อาจตรวจเช็คได้จากงบการเงินของบริษัทว่ามีฐานะเป็นอย่างไร มั่นคงพอหรือไม่ การดำเนินงานมีกำไรขาดทุนเป็นอย่างไร มีการเตรียมการรองรับกรณีจำเป็นด้านการเงินไว้เพียงพอหรือไม่ เป็นต้น 
2. ระบบการบริหารงาน ดูว่าระบบการบริหารเป็นอย่างไร คณะผู้บริหารควรเป็นผู้มีประสบการณ์และความรู้ในเรื่องธุรกิจหลักทรัพย์เป็น อย่างดี สังเกตเจ้าหน้าที่ที่ติดต่อด้วยว่าเขามีความรู้ ความชำนาญ มีเครื่องมือพร้อมที่จะให้บริการหรือไม่ รวมถึงระบบการปฏิบัติงานต้องได้มาตรฐานมีประสิทธิภาพ 
3. ข้อมูลและเครื่องมือช่วยตัดสินใจลงทุน เนื่องจากการซื้อขาย ผ่านอินเทอร์เน็ต ผู้ลงทุนต้องศึกษาข้อมูลและตัดสินใจด้วยตนเองจากข้อมูลที่โบรกเกอร์บริการ ส่งให้ทางอีเมลหรือบนเว็บไซต์ ดังนั้นผู้ลงทุนควรพิจารณาในแง่ของความน่าเชื่อถือของบทวิเคราะห์ และความรวดเร็วในการจัดส่งข่าวสารข้อมูลต่างๆ ซึ่งผู้ลงทุนอาจลองอ่านบทวิเคราะห์เปรียบเทียบกับโบรกเกอร์อื่นๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจเลือกโบรกเกอร์
4.การให้บริการแก่ลูกค้า ทีมงานช่วยเหลือเมื่อลูกค้ามีข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้งานระบบ รวมทั้งการให้บริการหลังการซื้อขายต่าง ๆ เช่น การชำระเงิน การโอนหุ้น ติดตามและดูแลผลประโยชน์ของลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ สิ่งเหล่านี้ ผู้ลงทุนควรพิจารณาให้ดี โดยอาจลองโทรถามเพื่อทราบเกี่ยวกับวิธีการแก้ปัญหาและการให้บริการของเจ้า หน้าที่แต่ละโบรกเกอร์เพื่อเปรียบเทียบระหว่างกัน
5.ค่าธรรมเนียมขั้นต่ำ ลองเปรียบเทียบว่าแต่ละโบรกเกอร์มีการคิดค่าธรรมเนียมขั้นต่ำแตกต่างกัน อย่างไร คิดจากยอดแต่ละรายการหรือคิดจากยอดรวม ณ สิ้นวัน ซึ่งบางโบรกเกอร์อาจคิดค่าธรรมเนียมขั้นต่ำในอัตราที่สูงกว่าโบรกเกอร์อื่น แต่ก็ต้องพิจารณาถึงบริการต่างๆที่จัดให้ว่าเหมาะสมกับค่าธรรมเนียมหรือไม่
6.บริการเสริม ปัจจุบันโบรกเกอร์ที่ให้บริการซื้อหุ้นขายผ่านอินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่มักจะมี บริการซื้อขายผ่านมือถือหรือ PDA ควบคู่กันด้วย โดยใช้ User Name และ Password เดียวกันและไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ทั้งนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ลงทุนที่ต้องเดินทางบ่อย ซึ่งผู้ลงทุนควรตรวจสอบข้อมูลดูว่ามีโบรกเกอร์ไหนให้บริการบ้าง เพื่อไม่ให้พลาดโอกาสในการซื้อขาย
7. ความสะดวกสบายในการรับจ่ายเงินค่าหุ้น เนื่องจากโบรกเกอร์ในปัจจุบันมีการรับจ่ายเงินค่าหุ้นผ่านระบบตัดเงิน อัตโนมัติที่เรียกว่า ATS เป็นส่วนใหญ่ (ซึ่งจะเริ่มบังคับใช้ 1 เมษายน 2550) ผู้ลงทุนจึงควรหาข้อมูลว่าโบรกเกอร์นั้นๆใช้บริการธนาคารไหนอยู่บ้าง ผู้ลงทุนมีบัญชีกับธนาคารนั้นๆหรือไม่ เพื่อความสะดวกในการรับจ่ายเงินของตัวผู้ลงทุนเอง
หลังจากเลือกโบรกเกอร์ที่ถูกใจได้แล้ว ผู้ลงทุนสามารถเข้าไปลงทะเบียนในเว็บไซต์ของโบรกเกอร์นั้นๆ ในเว็บไซต์จะมี 2 เมนูย่อยคือ ทดลองใช้ฟรี (Free Trial) และในส่วนของการเปิดบัญชี (Open Account) ซึ่งถ้าเลือก Free Trial จะเป็นการทดลองใช้สามารถดูข้อมูลต่าง ๆ จากโปรแกรมได้แต่ยังไม่สามารถซื้อขายได้จริง ใช้ได้ในระยะเวลาที่กำหนด แต่ถ้าเลือกเมนู Open Account จะเป็นการเปิดบัญชีซื้อขายจริง ๆ จะต้องมีการส่งเอกสารยืนยันให้กับโบรกเกอร์ด้วย หากผู้ลงทุนต้องการเปิดบัญชี ผู้ลงทุนจะต้องกรอกรายละเอียดข้อมูลส่วนตัวต่างๆพร้อมตั้ง User Name & Password สำหรับเข้าใช้งาน ข้อมูลทั้งหมดจะถูกส่งไปยังเจ้าหน้าที่เพื่อใช้ในการติดต่อกลับ ซึ่งหลังจากนั้นเจ้าหน้าที่จะจัดส่งเอกสารในการเปิดบัญชีกลับมา บางโบรกเกอร์ก็สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มในการเปิดบัญชีจากเว็บไซต์ได้ด้วยตัว เอง ระหว่างรอการอนุมัติจากโบรกเกอร์ ผู้ลงทุนสามารถเข้าดูหน้าจอได้แต่ยังไม่สามารถส่งคำสั่งได้ เมื่อโบรกเกอร์ทำการเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์เรียบร้อยแล้ว จะมีจดหมายเแจ้งเลขที่บัญชี พร้อมทั้งรหัสผ่านสำหรับส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ (PIN) เพื่อใช้ในการซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ต



 
เขาดูอะไรในค่า Ratio!!
 
เชื่อว่าผู้ลงทุนหลายท่านทั้งมือใหม่ และมือเก่าคงจะเคยได้ยินข้อมูลที่นักวิเคราะห์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนแนะนำอยู่เสมอเรื่องเกี่ยวกับอัตราส่วนที่ สำคัญสำหรับการลงทุนในหุ้น ท่านผู้อ่านอาจคุ้นเคยกับภาพที่นักวิเคราะห์หลักทรัพย์หลายท่านออกมา วิเคราะห์หุ้นต่างๆ ทางรายการโทรทัศน์ โดยยกอัตราส่วนต่างๆ เพื่อเป็นตัวช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นว่าที่วิเคราะห์หลักทรัพย์มานั้นมี เหตุผล และมีที่มาที่ไป มิได้แนะนำหุ้นแบบลอยๆ ทั่วไป
รายการประเภทนี้มักมีเวลาในการดำเนินรายการค่อนข้างจำกัด ทำให้ผู้ดำเนินรายการไม่สามารถอธิบายลงลึกถึงรายละเอียดกันได้มากนัก ดังนั้นแม้ผู้ลงทุนจะได้ทราบข้อมูลประเภทนี้บ่อยๆ แต่ส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยมั่นใจว่าในความเป็นจริงแล้วอัตราส่วนทางการเงิน ประเภทนี้ต้องดูอย่างไร เพื่อให้มีประสิทธิภาพสำหรับนำไปวิเคราะห์ขั้นต่อไปได้ดีที่สุด วันนี้จึงจะนำเอาอัตราส่วนทางการเงิน หรือค่า Ratio ตัวสำคัญๆ ที่จะต้องใช้กันเป็นประจำมาอธิบายให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น สำหรับโอกาสหน้าก่อนการลงทุน เราจะได้มีหลักเกณฑ์ในการตรวจสอบข้อมูลเหล่านี้ ก่อนตัดสินใจว่าหุ้นตัวนั้นดีหรือไม่ ค่า Ratio สำคัญๆ ก็มีดังนี้ค่ะ
  1. ค่า P/E
ค่า P/E หรืออัตราส่วนเปรียบเทียบระหว่างราคาตลาดของหุ้นสามัญต่อกำไรสุทธิของหุ้น สามัญ ที่บริษัททำได้ในรอบปีล่าสุด ค่านี้เป็นค่าที่จะได้ยินบ่อยที่สุดเนื่องจากสามารถนำมาเปรียบเทียบได้ทั้ง หุ้นรายตัว และสภาพตลาดโดยรวม แต่ถ้าจะให้อธิบายง่าย ๆ ก็คือ ค่า P/E สามารถประมาณการจุดคุ้มทุนให้กับผู้ลงทุนได้ เช่น หุ้น A ราคา 10 บาท มีกำไรต่อหุ้น 1 บาท ดังนั้น P/E = 10 เท่า หรือเราจะได้ทุน 10 บาทคืนเมื่อถือหุ้น A ครบ 10 ปี นี่คือแนวคิดเบื้องต้นที่ทำให้คิดได้ว่า ควรซื้อหุ้นที่ P/E ต่ำ ๆ และขายหุ้น P/E สูงออกไป แต่สำหรับบางกรณี หุ้นที่ P/E สูง ๆ ก็ยังน่าลงทุนเช่น
  • หุ้นที่มีแนวโน้มของกำไรเพิ่มขึ้น หรือที่เรียกว่า Growth Stock หุ้นเหล่านี้จะมี P/E สูง แต่ถ้าต้องการดูว่าสูงจนแพงเกินราคาหรือไม่ ต้องดูที่ P/E ไม่ควรเกินการขยายตัวของกำไร เช่น ถ้าคาดว่าหุ้นจะมีการเจริญเติบโตของกำไร 15% ต่อปี ก็ไม่ควรมี P/E เกิน 15 เท่าหรือนำ P/E หารด้วย Growth ถ้าได้ต่ำกว่า 1 มากเท่าไรก็ยิ่งดี
  • หุ้นที่มีสภาพคล่องดีมักมี P/E สูงกว่าพวกหุ้นที่มี Market Cap ใหญ่ ๆ และซื้อขายปริมาณมากในแต่ละวัน
นอกจากเปรียบเทียบ P/E หุ้นต่อหุ้นแล้ว ควรเปรียบเทียบ P/E ของหุ้น กับ P/E ของตลาดรวมและกลุ่มหรือหมวดอุตสาหกรรมเพิ่มเติมด้วย เพื่อดูว่าหุ้นตัวนั้นมีมาตรฐานสูง หรือต่ำกว่ามาตรฐานของตลาด
  1. ค่า P/BV
เป็นอัตราส่วนเปรียบเทียบระหว่างราคาตลาดของหุ้นสามัญ ต่อมูลค่าทางบัญชีของหุ้นสามัญ ซึ่งหุ้นที่มี P/BV ต่ำย่อมจะดีกว่าหุ้นที่มีค่านี้สูง ค่านี้เป็นที่นิยมเนื่องจากหาได้ง่ายจากงบการเงิน แต่อาจจะเบี่ยงเบนจากมาตรฐานได้ถ้าใช้มาตรฐานบัญชีที่แตกต่างกัน และไม่เหมาะที่จะใช้กับธุรกิจบริการที่มีการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรน้อย
  1. Dividend Yield
เป็นค่าอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลโดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ หากหุ้นตัวใดมีค่านี้สูงก็แสดงว่ามีการจ่ายเงินปันผลในอัตราที่สูงซึ่งจะดึง ดูดผู้ลงทุนพอสมควร แต่ถ้าตัวใดมีอัตราการจ่ายต่ำก็ต้องหาข้อมูลต่อไปว่าเกิดจากการทำกำไรได้ น้อยหรือเกิดจากนโยบายที่จะนำเงินไปลงทุนมากกว่าจ่ายคืนผู้ถือหุ้น ซึ่งถ้าเป็นประการหลัง และเป็นโครงการลงทุนที่ดีวิเคราะห์แล้วน่าจะมีผลตอบแทนที่สูง ก็ไม่ได้แสดงว่าหุ้นตัวนั้นไม่ดีแต่อย่างไร
  1. Turnover Ratio
เป็นอัตราการหมุนเวียนการซื้อขาย ซึ่งใช้วัดปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์ว่ามีมากน้อยเพียงใดเมื่อเทียบกับ ปริมาณหุ้นจดทะเบียน ถ้ามีค่ามากแสดงว่าสภาพคล่องของการซื้อขายมีสูงกว่า พูดง่าย ๆ คือสามารถเปลี่ยนหุ้นเป็นเงินสดได้ดีกว่า
  1. Net Profit Margin
อัตราส่วนกำไรสุทธิ เป็นอัตราส่วนที่ใช้วัดความสามารถในการทำกำไรของบริษัทหลังจากนำรายได้และ ค่าใช้จ่ายทุกประเภทเข้าพิจารณาแล้ว ซึ่งสามารถใช้วัดความสามารถของบริษัทในการควบคุมต้นทุน   และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เพื่อให้เกิดกำไรสุทธิ ดังนั้นค่า  Net Profit Margin ยิ่งสูงก็ยิ่งเป็นผลดี
  1. ROA หรือ Return on Asset
อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ทั้งหมด ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้แสดงถึงความสามารถในการทำกำไรของสินทรัพย์ทั้งหมดที่ กิจการนั้นใช้ในการดำเนินงาน ยิ่งมีค่ามาก ยิ่งแสดงว่าบริษัทมีความสามารถในการทำกำไรได้มาก
  1. ROE หรือ Return on Equity
อัตราผลตอบแทนจากผู้ถือหุ้น นั้นจะแสดงถึงความสามารถในการทำกำไรจากส่วนของผู้ถือหุ้น เป็นการวัดผลตอบแทนต่อส่วนทุนของบริษัทว่าให้ผลเฉลี่ยในระดับใด ยิ่งมีค่ามากก็แสดงว่าผู้ถือหุ้นมีโอกาสได้รับผลตอบแทนยิ่งมาก และถ้าค่านี้สูงแสดงว่าผู้บริหารของบริษัทนั้นมีฝีมือการบริหารงานที่ดี

อัตราส่วนทั้ง 7 ข้อนี้ค่อนข้างเป็นตัวหลัก และจะได้ยินบ่อย ๆ ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยให้ผู้ลงทุนได้เข้าใจในความหมาย และสามารถติดตามข่าวสารต่างๆ ได้โดยมีความเข้าใจมากขึ้น แต่จะให้ดีก็ต้องมีการศึกษาหาข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติมด้วยนะครับ เพราะต้องไม่ลืมว่า การลงทุนมีความเสี่ยง แต่สามารถบริหารความเสี่ยงให้น้อยลงได้โดยการศึกษาข้อมูลก่อนการลงทุนค่ะ



ขอบคุณข้อมูลดีดีจาก TSI 
"อย่ากลัวที่จะก้าวไปช้าๆ จงกลัวที่จะอยู่นิ่งเฉย"
Do not be afraid of going slowly, be afraid only of standing still. ภาษิตจีน


*……………………………………………………………………………………………………….*
*……………….ขอให้วันนี้เป็นวันที่ดีสำหรับ Sailorty และเพื่อนๆทุกท่าน……………….*

1 ความคิดเห็น:

  1. ได้ความรู้เยอะเลย ขอบคุณครับ คุณ sailorty เรียน มช หรือเปล่านะครับ

    ตอบลบ