วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ก่อนจะเริ่มก้าวแรก



เริ่มต้นด้วยชื่อเรื่อง.. ก่อนจะเริ่มก้าวแรก เหตุผลก็เนื่องมาจาก ณ เวลานี้เป็นช่วงเวลาระหว่างการก้าวสู่วัยทำงานกับวัยเรียนมหาวิทยาลัยเทอมสุดท้าย!! ขอย้ำว่าเทอมสุดท้ายแล้วค่ะ นั้นก็หมายความว่า.. เหลือเวลาอีกประมาณสามเดือนเท่านั้น กับการเป็นนักศึกษาชั้นปีที่สี่ นึกทีไรก็ใจหายทุกที -*- นี่เราจะต้องเข้าสู่วัยทำงานในเวลาอันใกล้นี้แล้วหรือนี่ เห้ออออออ เวลามันผ่านไปรวดเร็วจริงๆนะค่ะ

ช่วงเตรียมตัวก้าวสู่โลกการทำงานนี้ ก็ขอกล่าวอย่างเต็มปากเต็มคำว่า ..ยังทำตนเองให้อยู่ในระบบและแบบแผนที่วางไว้ตั้งแต่ต้น แต่รู้สึกว่าช่วงนี้จะมีคำถามหลายๆคำคำถาม จากผู้ที่ติดตามอ่าน จึงอยากขออธิบายเกี่ยวกับเส้นทางสู่เป้าหมายที่ได้มีการวางแผนไว้ตั้งแต่สมัยมัธยม อาจจะดูว่าเป็นเพียงการวางแผนของเด็กนักเรียนธรรมดา แต่มันก็คือเส้นทางที่เลือกเดินมาจนถึงปัจจุบัน ^^*

เป้าหมาย: นักลงทุนผู้ชาญฉลาด
จุดเริ่มต้น: จบมัธยมศึกษา สายวิทย์ คณิต เนื่องจากจะได้วิธีคิดอย่างมีระบบ ฝึกเป็นคนชั่งสังเกต รู้จักตั้งคำถามจากสิ่งที่เห็น ทำให้สามารถคิดและวิเคราะห์ในหลายๆเรื่องอย่างมีระบบแบบแผน

          :  ศึกษาปริญญาตรีในสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ เนื่องจากเป็นสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน การวิเคราะห์ด้านมหภาค และจุลภาค รวบไปถึงปัจจัยที่มีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ

          :  เทอมสุดท้ายในระดับปีสี่ ได้เลือกฝึกงานที่บริษัทหลักทรัพย์

การเตรียมสู่ก้าวแรก:         1.>> สอบ Single License
ต้องให้สำเร็จก่อน                 2.>> สอบ Derivatives License
เรียนจบการศึกษานี้              3.>> สมัครงานกับบริษัทหลักทรัพย์

ก้าวแรก:  ประกอบอาชีพ Marketing ในบริษัทBroker

ส่วนก้าวต่อๆไป จะขออธิบายไว้ให้คราวหน้า แต่เมื่อก้าวแรกสำเร็จแล้ว ตี้คงจะไม่หยุดอยู่แค่นี้แน่นอนค่ะ แต่อยากให้ทุกคนอดใจรอ และเป็นกำลังใจให้ในแต่ละการก้าวไปสู่เป้าหมายด้วยนะค่ะ ^^*

บอกตัวเองทุกวันว่า.. "Sailorty ทำได้"
แล้วปาร์ตี้ก็จะต้องทำให้ได้อย่างที่บอกกับตนเองด้วย
ทุกคนก็เหมือนกันนะค่ะ จงเชื่อมั่น ในความสามารถของคุณ
 
คำคมดีดีที่ประทับใจ!!  “เป็นมิตรกับความรู้สึกตนเอง
คำว่าพฤติกรรมย่อมเป็นได้ทั้งดีและแย่ หนทางหนึ่งที่เราจะแก้ไขพฤติกรรมแย่ๆ เหล่านี้ได้ คือ เราต้องกล้าที่จะยอมรับความจริง และเผชิญหน้าต่อความรู้สึกนั้น เราแทบไม่มีทางเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมแย่ๆของเราได้เลย หากว่าเรายังเอาหัวจุ่มดิน เพื่อหลีกหนีจากความรู้สึกของเราอยู่ มันอาจเจ็บปวดที่ต้องนึกถึงบ้าง เป็นเรื่องธรรมดา แต่จงพยายามรู้สึกถึงมัน ยอมรับต่อมัน พูดคุยกับมัน หรือระบายมันออกมาให้ใครสักคนได้รับฟัง นี่เป็นเพียงหนทางเดียวที่คุณจะสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคุณได้

เช่นเดียวกับการลง เพราะไม่ว่าคุณจะพยายามหนีมันไปด้วยการหากลยุทธ์หรือระบบการลงทุนใหม่ๆ อีกกี่รูปแบบ พฤติกรรมแย่ๆ ก็ยังจะตามหลอกหลอนคุณต่อไปอยู่เช่นเคย อย่าพยายามหาข้ออ้างหรือโยนความผิดให้สิ่งรอบตัว จงจำไว้ให้ดีว่า คุณไม่สามารถหนีมันไปได้หรอกค่ะ ไม่ว่าคุณจะพยายามเท่าไหร่ เพราะมันคือผลผลิตของตัวคุณนั้นเอง
...................................................................................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................................................................
 
แนวโน้มหุ้นวันนี้: ดัชนีเคลื่อนที่ไหวซิกแซกแคบๆ ต้านปัจจัยลบต่างๆได้ดี ด้วย Volume ต่ำสุดในรอบสองสัปดาห์ หรืออีกในหนึ่งบอกว่านักลงทุนส่วนใหญ่เลือกที่จะชะลอการลงทุน โดยหุ้นขนาดใหญ่ทรงตัว แต่หุ้นตัวเล็กคึกคัก อย่างไรก็ตามก็ยังเป็นเรื่องยากที่จะประเมินทิศทางของดัชนี ด้วยเหตุที่ Volume น้อย และปัจจัยลบที่กระทบตลาดสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ขณะที่ตลาดก็ไร้ซึ่งปัจจัยบวกที่จะเข้ามากระตุ้นเช่นกัน ดัชนีในวันนี้จึงมีแนวโน้มเคลื่อนไหว sideways ในกรอบ 970-992 จุดต่อเนื่อง ชนิดค่อนไปทางปรับตัวขึ้นเล็กน้อย เมื่อตลาดหุ้นยุโรปและเอเชียมีโอกาสเกิด Technical Rebound ซึ่งน่าจะเพียงพอที่จะผลักดันให้ดัชนีขึ้นได้ จึงต้องมาเน้นที่ Volume ของตลาดว่าจะเพิ่มขึ้นด้วยหรือไม่ หากยังคงเบาบางต่อไป การปรับตัวขึ้นก็จะขาดความมั่นค

แนะนำ:
ขึ้นขายทำกำไร แล้วรับกลับด้านล่าง
...................................................................................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................................................................

วันนี้อาจจะดูไม่ค่อยมีสาระเท่าไหร่ ต้องขออภัยด้วยนะค่ะ :')

แต่ว่าอาทิตย์หน้าก็จะทำการสอบSingle Licenseแล้วล่ะนะ เห้อออออ!! อยากบอกว่าเครียดมากค่ะ

ยังไงก็อย่าลืมส่งกำลังให้ผู้หญิงธรรมดาคนนึงคนนี้ด้วยนะค่ะ ขอให้ผ่าน ผ่าน ผ่าน สาธุ เพี้ยงงงงงง!!



เดี๋ยวต้องขอตัวไปอ่าน หนังสือเตรียมตัวสอบต่อก่อนนะค่ะ ไม่อยากบอกเลยว่า.. หลับคาหนังสือมาหลายวันแล้วล่ะ ฮ่าๆๆ น่าอายมากๆๆ แต่มันก็ยังดีกว่าไม่พยายามจะทำอะไรเลย เพื่อไปสู่ความสำเร็จใช่ไมล่ะค่ะ 
>++> ไปก่อนนะค่ะ "บ๊ะบาย" ขอให้ผู้อ่านทุกท่านมีแต่รอยยิ้มและความสุข ^^*
 

วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

เคล็ดลับที่โรงเรียนไม่สอน..ตอน "มุมมองเกี่ยวกับหุ้นวันนี้ "

                   "สวัสดีวันจันทร์" (^/|\^)* วันนี้เริ่มต้นด้วยตลาดหุ้นสีเขียวขจี จากการที่ตลาดหุ้นสหัฐปิดพุ่งขึ้นในวันศุกร์ และปิดบวกในสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดขึ้น 259.89 จุด หรือ 2.19% มาปิดที่ 12,153.68 จุดหลังคลายกังวลพัฒนาการทางการเมืองในอิตาลี-กรีซดีขึ้น โดยตลาดหุ้นทั่วโลกมีการปรับตัวขึ้นในวันศุกร์ที่ผ่านมา มีการคาดการณ์ว่า พัฒนาการทางการเมืองที่ดีขึ้นในอิตาลีและกรีซ อาจปูทางให้มีการออกมาตรการรัดเข็มขัดอย่างรุนแรง ซึ่งมีความสำคัญต่อการควบคุมวิกฤตหนี้ในยุโรป ขณะเดียวกันทั้งเงินยูโรและโภคภัณฑ์สามารถปรับตัวขึ้น ด้านตลาดหุ้นในภูมิภาคเช้านี้ ส่วนใหญ่ปรับตัวขึ้น โดยตลาดหุ้นสิงคโปร์ บวก 1.51%, ญี่ปุ่น บวก 1.21%,เกาหลีใต้ บวก 2.05%, ไต้หวัน บวก 2.16% และฮ่องกง บวก 2.45% ส่วนดัชนีของไทยเมื่อวันศุกร์ ปิดบวก 2.67 จุด หรือ 0.28% มาที่ 970.97 ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 20,589.97 ล้าน ดูๆแล้วก็สมเหตุสมผลเป็นอย่างยิ่งจริงรึป่าวค่ะ?
           
            สำหรับวันเลขสวย 11/11/11 ปาร์ตี้ก็ได้ทำการเปิด facebook อันใหม่ ในนาม Sailorty Stock เพื่อตอบสนองความต้องการส่วนตัว ในการแชร์ความเห็นด้านการลงทุน อย่าลืมไปเป็นเพื่อนกับปาร์ตี้ด้วยนะค่ะ ^^*

            มาถึงหัวข้อของวันนี้บ้างดีกว่า.. พอดีว่ามีพี่ชายใจดีคนหนึ่งที่มาฝากกับขนมของฝากจากเชียงใหม่ ^0^* ((ลาบปาก อิอิ)) ได้ทำการแยกชิ้นส่วนหนังสือพิมพ์ข่าวหุ้น แล้วนำมาฝากให้พิมพ์ให้ -*- ดังนั้นในฐานะเป็นผู้ถูกใช้แรงงาน ปาร์ตี้จึงขอนำมาแชร์ในบล็อกของตนเอง ^^* แบบว่ายิงปืนนัดเดียวได้อินทรีย์สองตัว








มีหวัง!! By โมนิก้าและทีมงาน..
หลายคนเริ่มตั้งคำถามเกี่ยวกับการปรับตัวขึ้นของดัชนีในสัปดาห์นี้จะเป็นเช่นไร? ขอตอบว่า ยังมีสิทธิ์ปรับตัวขึ้นเรื่อยๆ แต่ปรับตัวขึ้นไปแล้วจะโดนถล่มเทขายออกมาหนักแค่ไหน? อันนี้ต้องวัดดวงข้างหน้ากันเอาเอง เพราะสิ่งที่พบเห็นตลอดระยะเวลากว่า 2 เดือนก็คือ ขึ้นแล้วลง..ลงแล้วขึ้น จนบางคนบอกเป็นรูปตัว V บางคนบอกเป็นรูปตัว U บางคนบอกเป็นรูปตัว W หรือแม้กระทั้งบอกเป็นรูปตัว M ก็มีเหมือนกัน

            งานนี้ขอบอกได้คำเดียวว่า ขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละคน และสาเหตุที่ต้องออกมาย้ำเรื่องนี้ เพราะปัญหารอบด้านที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาเชิงเทคนิคมากกว่าเชิงโครงสร้าง จึงมองไม่เห็นความจำเป็นที่นักลงทุนต้องถอยร่นไม่เป็นขบวน แต่ควรใช้ความไม่แน่นอนดังกล่าวเป็นเครื่องมือทำกำไรในช่วงสั้นๆ
            ส่วนปัญหาหนี้ในกลุ่มยูโรโซนที่สร้างความหวาดหวั่นแก่กองทุนขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก อาจมองเป็นแค่ เรื่องเก่ามาเล่าใหม่ ไม่ได้มีอะไรน่าตื่นตกใจอีกแล้ว และในเชิงปริมาณถือว่า ตลาดหุ้นซึมซับรับข่าวร้ายดังกล่าวมากเกินไปเสียด้วยซ้ำ ไม่มีเหตุผลต้องเทขายหุ้นทิ้งตามฝรั่ง เพราะนาทีนี้ต้องหัดเพิ่มความมั่งคงให้กับพอร์ตค่ะ

            ไม่มีอะไรร้ายตลอดไปและไม่มีอะไรดีตลอดไป นักลงทุนต้องหาส่วนผสมที่คิดว่าเหมาะสมกับตัวเอง ตัวอย่างสูตรที่ใช้ในตอนนี้คือ ถือเงินสด 70: หุ้น 30 หรือแบบดุดันหน่อยก็เป็นเงินสด 50: หุ้น 50 ส่วนกลุ่มที่นิยมชมชอบเป็นการส่วนตัวยังเน้นหนักไปที่หุ้นปิโตเคมีและสื่อสาร

            โดยเฉพาะในรายของ IVL แม้จะไต่ระดับขึ้นไปไม่ได้ไกล แต่รอบที่ผ่านมาก็ขยับขึ้นจาก 32 บาท ขึ้นไปถึง 37 บาท จึงมั่นใจสุดๆๆว่า รอบนี้น่าจะมีลักษณะเช่นเดียวกัน และเป็นโอกาสดีที่นักลงทุนจะเข้ามาเล่นอีกรอบ เหมือนกับในรายของ IRPC หากมองแพทเทิร์นการเคลื่อนตัวจะพบว่า ทิศทางของหุ้นยังเป็นลักษณะเก็งกำไรสั้นๆ และมีกรอบเล่นอยู่ที่ระดับ 3.6 4.00 บาท ถ้าตีกรอบแคบหน่อยก็จะหยุดไว้ที่ 3.60 3.80 บาทนะค่ะ

            สำหรับคนที่ต้องการเล่นหุ้นสื่อสาร ขอแนะนำให้นักลงทุนหันไปมอง ADVANC และ DTAC เป็นหลัก เพราะมีสตอรี่ที่น่าสนใจมากมาย และที่ผ่านมาก็ไต่ระดับสูงขึ้นเรื่อยๆ จึงอยากให้นักลงทุนที่พอมีกำลังทรัพย์ลองเจียดเงินบางส่วนเข้ามาลงทุนได้แล้ว เพราะมองจากมุมไหนด้านไหน 2 ดาวเด่นก็ยังเป็นกำลังหลักของตลาดหุ้นไทยต่อไปเหมือนเดิม

            ส่วนคนที่ต้องการเกาะกระแสขยะแลกไข่ ขอแนะนำให้นักลงทุนลองหันไปมอง BWG PRO และ GENCO เพราะเป็นหุ้นที่ได้รับผลดีโดยตรงหลังน้ำท่วมลดลง แต่น่าเสียดายที่ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นรับข่าวดังกล่าวมากเกินไป ก็เลยไม่กล้าแนะนำให้นักลงทุนเข้าเล่นสุดตัว และขอให้นักลงทุนใช้วิจารณญาณส่วนตัวตัดสินกันเอาเองว่า เล่นตามดีไหม

            ตรงกันข้ามกับในรายของ SUSCO และ UKEM เพราะมีดีที่พื้นฐานแน่นปึ้ก แถมธุรกิจก็โตวันโตคืนขึ้นเรื่อยๆ จึงกล้าแนะนำให้เล่นตามน้ำเมื่อหุ้นเริ่มขยับออกจากแนวรับ

            ส่วนหุ้นที่น่าผิดหวังมากที่สุดในรอบนี้คือ TRUBB ราคาหุ้นทรุดโทรมเสื่อมตามสภาพกาลเกือบ 6 เดือน แถมผลประกอบการไตรมาส 3 ก็ออกมาขาดทุนเละเทะแบบนี้ บอกได้คำเดียวว่าต้องขายทิ้ง ไม่มีความจำเป็นต้องทนแบกหุ้นไปเรื่อยๆ เพราะมองไม่เห็นโอกาสที่หุ้นจะถีบตัวขึ้นได้เร็วๆนี้ หรืออย่างดีสุดที่ประมาณการไว้คือ รีบาวด์เพื่อลง นะค่ะ



            อ่านจบแล้ว!! มีความเห็นเช่นไรกันบ้างค่ะ?? แต่ในความเห็นส่วนตัวของปาร์ตี้ ขอบอกว่ามีความเห็นสอดคล้องอย่างยิ่งค่ะ ^^* แล้วก็อยากจะฝากให้ทุกคนติดตามข่าวให้มากๆนะค่ะ เนื่องจากข่าวเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการกำหนดจิตวิทยาการลงทุนของนักลงทุน แต่ขอให้ใช้วิจารญาณในการอ่านด้วยนะค่ะ บ้างข่าวอาจจะจริง บางอ่านอาจเป็นเพียงการสร้างกระแส อย่าไหลตามน้ำมากเกินไปและอย่าทำตัวสวนกระแสมากเกิน จงทำตัวให้เป็นกลาง ตัดสินใจลงทุนด้วยสติและเหตุผล ไม่ใช่อารมณ์นะค่ะ ^^*


เว็บที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุน..


ความรอบครอบ
เวลาทำงานอะไรก็ตาม ต้องบอกตัวเองว่า ฉันจะทำให้ดีที่สุด
เพราะเมื่อคนสร้างงาน งานก็จะย้อนกลับมาสร้างคน
ถ้าเราเติมความตั้งใจลงไปให้เต็มร้อย ในทุกๆชิ้นงานของเรา ในทุกๆกิจกรรมของเรา
ไม่มีงานไหนที่ไม่เป็นงานชิ้นเอก แต่ถ้าเราทำอะไรก็ตามหละหลวม
ความหละหลวมเพียงเรื่องเดียว เพียงครั้งเดียว เพียงชิ้นเดียว..

วันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

เคล็ดลับที่โรงเรียนไม่สอน..ตอน "อ่านฉลาก ก่อนลงทุนในหุ้น "

"อ่านฉลาก ก่อนลงทุน"




การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน ประโยคที่มักติดสอยห้อยตามมาด้วยเสมอ เมื่อมีการโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการลงทุน ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนโดยตรงในหลักทรัพย์หรือลงทุนผ่านกองทุนรวม แต่ด้วยเวลาที่จำกัดและค่าโฆษณาอันแสนแพง ประโยคนี้จึงมักถูกกล่าวไปอย่างรวดเร็วราวกับคำเตือนบนขวดเครื่องดื่มบำรุงกำลัง
             การตัดสินใจเลือกลงทุนในกองทุนรวมประเภทใดสักกอง นอกจากคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ผู้ขายหน่วยลงทุนแล้ว เชื่อว่ามีหลายท่านที่ตัดสินใจลงทุน เพราะโปรแกรมส่งเสริมการขายที่มักถูกนำมาใช้เป็นแม่เหล็กเพื่อดึงดูดนักลงทุน โดยเฉพาะในช่วงปลายปีหรือช่วงที่มีมหกรรมการเงินต่างๆ สถาบันการเงินต่างก็ประชันโปรโมชั่นกันอย่างครึกโครม อันที่จริงนอกจากแรงเชียร์ของพนักงานหรือสิ่งเร้าเหล่านั้นแล้ว การศึกษาข้อมูลจากหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนก็ถือเป็นแหล่งข้อมูลที่ดีให้กับผู้ลงทุนได้นำมาพิจารณาก่อนตัดสินใจลงทุน ค่ะ
            เหมือนกับก่อนที่จะใช้ยารักษาโรค เราก็ควรต้องอ่านฉลากเสียก่อนเพื่อให้ทราบถึงสรรพคุณของยานั้นว่าเป็นยาสำหรับใช้ภายนอกหรือสามารถรับประทานได้รวมไปถึงวิธีการใช้ที่ถูกต้อง ในเชิงการลงทุนก็คล้ายคลึงกัน กองทุนรวมมีหนังสือชี้ชวนเป็นเสมือนฉลากที่สาธยายสรรพคุณของกองทุนรวมว่าลงทุนในอะไร มีความเสี่ยงระดับใด รวมทั้งมีวิธีการซื้อขายอย่างไร ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กำหนดให้ทุกบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) จะต้องจัดทำหนังสือชี้ชวนและต้องเผยแพร่ให้ผู้ลงทุนทราบหรือแจกจ่ายให้แก่ผู้ลงทุน (เมื่อถูกร้องขอ) ทุกครั้งที่มีการเสนอขายหน่วยลงทุน อย่างไรก็ตาม จำนวนคนที่อ่านฉลากข้างขวดยาน้อยเพียงใด เชื่อได้ว่าจำนวนคนที่อ่านฉลากข้างกล่อง (หนังสือชี้ชวน) กองทุนรวมนี้อย่างจริงจังก็น้อยเพียงนั้น
               หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุน ประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนสรุปข้อมูลสำคัญ และส่วนข้อมูลโครงการ สำหรับส่วนสรุปข้อมูลสำคัญจะเน้นข้อมูลที่กระชับ อ่านง่ายและได้ใจความ ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญที่กองทุนรวมต้องเปิดเผย ได้แก่
·         ลักษณะที่สำคัญของกองทุนรวม (Key Feature) และนโยบายการลงทุน ช่วยให้ทราบว่าเป็นกองทุนรวมประเภทใด มีกำหนดอายุโครงการหรือไม่ จำนวนเงินทุนของโครงการ รวมถึงบอกให้ทราบว่ากองทุนจะนำเงินที่ระดมทุนได้ไปลงทุนในทรัพย์สินใดบ้าง ซึ่งจะช่วยให้นักลงทุนสามารถเลือกกองทุนรวมที่เหมาะสมกับความต้องการลงทุนได้
·         ข้อมูลเกี่ยวกับเงินลงทุนของผู้ลงทุน ซึ่งแสดงในลักษณะคำถามคำตอบ ช่วยให้ทราบถึงรูปแบบผลตอบแทนที่จะได้รับ ตัวชี้วัดที่เหมาะสม (Benchmark) รวมไปถึงวิธีการลงทุนผ่านช่องทางต่างๆ
·         ความเสี่ยงในการลงทุน ของกองทุนนั้นๆ มีอะไรบ้าง เช่น ความเสี่ยงจากตลาด (Market Risk) การดำเนินงานของผู้ออกตราสาร (Business Risk) หรือสภาพคล่องของตราสารที่กองทุนลงทุน (Liquidity Risk) ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (Foreign Exchange Rate Risk) หรือความเสี่ยงที่เกิดจากการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เป็นต้น
·         ค่าใช้จ่ายทั้งหมดของกองทุนรวม บอกว่าค่าใช้จ่ายของกองทุนรวมมีอะไรบ้าง อัตราเท่าไร ค่าใช้จ่ายแบ่งเป็น 2 ประเภท ประกอบไปด้วย ค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บโดยตรงจากผู้ซื้อหรือผู้ถือหน่วยลงทุน เช่น ค่าธรรมเนียมในการซื้อหรือขายหน่วยลงทุน เป็นต้น และค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากกองทุนรวม เช่น ค่าธรรมเนียมการจัดการ ค่าธรรมเนียมผู้ดูแลผลประโยชน์ ค่าธรรมเนียมนายทะเบียน ค่าตรวจสอบบัญชี หรือค่าใช้จ่ายในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ เป็นต้น แต่ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายประเภทใด ต่างก็นับเป็นต้นทุนในการลงทุน ย่อมส่งผลต่อผลการดำเนินงานของกองทุนทั้งสิ้น จึงอาจบอกได้ว่า ยิ่งกองทุนมีค่าใช้จ่ายต่ำ ยิ่งเป็นผลดีต่อผลการดำเนินงาน
·         คำเตือนและข้อแนะนำ อาทิเช่น การลงทุนในหน่วยลงทุนมิใช่การฝากเงิน และมีความเสี่ยงของการลงทุน ผู้ลงทุนอาจได้รับเงินลงทุนคืนมากกว่าหรือน้อยกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกก็ได้ หรือ ผู้สนใจลงทุนควรศึกษาข้อมูลในหนังสือชี้ชวนให้เข้าใจก่อนซื้อหน่วยลงทุน และเก็บไว้เป็นข้อมูลเพื่อใช้อ้างอิงในอนาคต หากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม สามารถขอรับหนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลโครงการได้ที่บริษัทจัดการหรือผู้ขายหน่วยลงทุน เป็นต้น
·         วันเดือนปีที่รวบรวมข้อมูลไว้ในหนังสือชี้ชวน เพื่อดูว่าหนังสือชี้ชวนฉบับนั้นจัดทำขึ้นล่าสุดเมื่อไร โดยปกติ ก.ล.ต. จะกำหนดให้กองทุนต้องจัดทำและปรับปรุงข้อมูลในหนังสือชี้ชวนปีละ 1 ครั้ง
              สำหรับหนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลโครงการนั้น มีข้อมูลที่ชี้แจงรายละเอียดและขยายความเพิ่มเติมจากส่วนสรุปข้อมูลสำคัญ รวมถึงมีคำจำกัดความต่างๆ เพื่อเป็นข้อมูลให้กับนักลงทุนมากที่สุด เช่น สิทธิ หน้าที่และความรับผิดชอบของบริษัทจัดการ ผู้ดูแลผลประโยชน์ ผู้สนับสนุนการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุน วิธีการคำนวณราคาหน่วยลงทุน สิทธิประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุน วิธีการแก้ไขโครงการและการเลิกโครงการ เป็นต้น
           ด้านผู้ที่ต้องการข้อมูลกองทุนอย่างย่อสำหรับกองทุนรวมที่เปิดดำเนินการอยู่แล้ว อาจเลือกศึกษาจากเอกสารข้อมูลสำคัญการลงทุน (Fund Fact Sheet) ซึ่งมักรวบรวมข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับกองทุนโดยเฉพาะ โดยทั่วไปจะมีรายละเอียดไม่เกินหนึ่งหน้ากระดาษ ซึ่งช่วยให้ผู้ลงทุนสามารถทราบข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนได้โดยใช้เวลาไม่นานมาก



ออมด้วยหุ้น..
“The best way to own common stocks is through index funds... Additionally, those index funds that are very low-cost (are investor-friendly by definition and are the best selection for most of those who wish to own equities” - Warren Buffett -  
             ในรอบสองปีที่ผ่านมาดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวขึ้นแรงติดต่อกัน ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ค่อนข้างหาได้ยาก หลายคนประสบความสำเร็จจากการลงทุน แต่ถึงแม้ภาวะตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวเช่นนี้ บางคนก็ยังได้ผลตอบแทนไม่ค่อยดีหรือยังได้ผลตอบแทนน้อยกว่าการเพิ่มขึ้นของดัชนีตลาดหลักทรัพย์อยู่นั่นเอง
การที่มีหลายคนประสบความสำเร็จจากการลงทุน  เป็นตัวอย่างให้หลายคนอยากประสบความสำเร็จตามบ้าง โดยมักมีความคิดที่ว่าการลงทุนในหุ้นเป็นเรื่องง่าย แค่ซื้อถูกและขายให้แพงกว่าเท่านั้นก็จะได้ผลตอบแทนที่เป็นกอบเป็นกำแล้ว ถึงกับชวนเพื่อนชวนญาติชวนคนรู้จักให้มาลงทุน โดยคิดว่าน่าจะทำกำไรได้ง่ายๆ
แนวคิดนี้ชวนทุกคนมา รวยด้วยหุ้นนี้ก็คล้าย ๆ กับการขายฝัน สอนให้คนหวังรวยทางลัดเหมือนอีเมล์สแปม (spam) ที่ส่งมาบอกว่าทำงานที่บ้านก็ได้เดือนละแสนแล้วอย่างไรอย่างนั้น เพราะจริง ๆ แล้ว คนที่จะประสบความสำเร็จจากการลงทุนในหุ้นนั้นมีน้อย คนที่จะสามารถรวยด้วยหุ้นนั้นก็ไม่ต่างจากการประสบความสำเร็จในอาชีพอื่น ๆ ทั่วไป  คือเป็นคนที่ยินดีอุทิศเวลาทุ่มเทให้ตลาดทุนเท่านั้น
Livermore พูดถูกที่บอกว่า หุ้น คืออาชีพอย่างหนึ่ง คนที่จะประสบความสำเร็จก็คือคนที่จริงจังกับมันเหมือนอาชีพอื่น ๆ ตลาดหุ้นสอนให้เรารู้เราภาวะเศรษฐกิจแย่ไม่เคยทำร้ายนักลงทุน เพราะบ่อยครั้งในภาวะเศรษฐกิจดี นักลงทุนก็ยังขาดทุน
มีแต่นักลงทุนนั้นแหละที่มักทำร้ายตัวการซื้อ ๆ ขาย ๆ เก็งกำไรไปวัน ๆ อยากรวยแบบง่าย ๆ บางคนใช้วิธีเลือกหุ้นตามกูรูตามนักวิเคราะห์ บางทีวิธีการของกูรูเหล่านั้นถึงรู้ไปก็ทำตามแบบอย่างไม่ได้ เพราะเราไม่มีบางสิ่งบางอย่างที่เขามี จริง ๆ แล้วการลงทุนที่ถูกต้องหากเราไม่มีเวลา ไม่สามารถทุ่มเทให้กับมันได้เต็มที่ อยากแนะนำให้เปลี่ยนแนวคิดมาเป็น ออมด้วยหุ้น มากกว่าแนวคิดรวยด้วยหุ้นโดยมองว่าหุ้นเป็นสินทรัพย์ที่สร้างผลตอบแทนได้ดีและเราต้องทยอยออมมันไปเรื่อยๆ
ถ้าย้อนประวัติศาสตร์ดูเวลาที่ตลาดหลักทรัพย์มีการปรับตัวอย่างรุนแรงนั้น นักลงทุนมักจะมีปัญหาในการจัดการความเสี่ยงเวลาปรับตัวลง บางคนถึงกับกลัวจนไม่กล้าที่จะลงทุน หรือพอบางทีเหตุการณ์เหล่านั้นผ่านไปก็จะพบว่า ความกังวลของนักลงทุนหลายครั้งก็เกินกว่าเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้น แต่ส่วนที่เลวร้ายจริงๆนั้น ส่วนใหญ่จะโผล่มาแบบไม่เคยมีใครคาดการณ์ไว้ก่อน เช่น เหตุการณ์สินามิ หรือแผ่นดินไหวที่เมืองโกเบ
แนวทางในการลงทุนที่ถูกต้องนั้นสำหรับผู้ที่ต้องการลดความเสี่ยง และหลีกเลี่ยงการที่จะต้องลงทุนแบบซื้อ ๆ ขาย ๆ คำแนะนำของ Peter Lynch ที่เป็นอดีตผู้จัดการกองทุนขนาดใหญ่ที่สุดของอเมริกา บอกให้ทุกคนกระจายความเสี่ยงโดยที่ให้ทุกคนเลือกหุ้นตัวที่ดีที่สุดด้วยตัวเองประมาณ 5 ตัว อย่าถือกระจายมากกว่านี้ แล้วถือไว้ในนานๆ  คำแนะนำนี้เป็นข้อคิดที่ดีมาก เนื่องจากในความเป็นจริงนั้น การคาดการณ์อนาคตเป็นเรื่องยาก การซื้อไว้สักห้าตัวแล้วถือไว้เฉยๆ บางทีกลับจะได้ผลดีอย่างไม่น่าเชื่อและไม่เหนื่อยมากด้วย ในห้าตัวนี้ก็มักจะมีตัวนึงวิ่งให้ดีใจได้ทุกปี  และถ้าเลือกหุ้นได้ดีมาก ผลตอบแทนตัวที่ดีจะดึงค่าเฉลี่ยของผลตอบแทนรวมให้สูงขึ้นไปด้วย โดยที่ไม่ต้องรู้อะไรก่อนคนอื่นเลย ถ้าเราคิดว่าเราไม่มีความสามารถเหมือนเซียนหุ้น การลงทุนตามคำสอนของ Peter Lynch ก็เป็นทางเลือกที่ดีมากสำหรับคนทั่ว ๆ ไป
Peter Lynch ไม่ได้บอกว่าห้ามขาย แต่การบอกว่าให้ถือให้ได้นาน ๆ นี้มีความหมาย เพราะถ้าคนเราตั้งใจเสมอว่าจะถือให้นาน ๆ เราจะหลีกเลี่ยงความผิดพลาดจากการขายเร็วเกินไปได้หลายครั้งเลยทีเดียว เป็นการสกัดจุดอ่อนของนักลงทุนราย่อยทั่วไป หรือการเลือกลงทุนในกองทุนรวมที่มีมืออาชีพคอยกระจายความเสี่ยงให้อยู่แล้ว เหลือแต่หน้าที่ทยอยลงทุนอย่างสม่ำเสมออันเป็นการตัดอารมณ์ความรู้สึกออกไป ก็เป็นแนวทางที่ผู้ลงทุนมีโอกาสได้รับผลตอบแทนสูง และไม่ต้องมาเหนื่อยกับการซื้อ ๆ ขาย ๆ อีกด้วย                                        

มือใหม่หัดลงทุนในหุ้น..
จะเริ่มต้นอย่างไรดี บทความฉบับนี้จะแนะนำแนวทางต่างๆ สำหรับลงทุนในตลาดหลักทรัพย์กันค่ะ
            เริ่มลงทุนง่ายๆ ผ่านกองทุนหุ้น หากคุณไม่เคยลงทุนในตลาดหุ้นมาก่อน และไม่รู้จักหุ้นรายตัวในตลาด การเริ่มต้นลงทุนในกองทุนหุ้นเป็นทางเลือกที่เหมาะสมกับคุณ เนื่องจากกองทุนหุ้นจะถูกบริหารโดยผู้จัดการกองทุนที่มีความเชี่ยวชาญในการลงทุนซึ่งสามารถเลือกลงทุนในหุ้นรายตัวพื้นฐานดีแทนคุณได้ นอกจากนี้ การลงทุนในกองทุนหุ้นจะช่วยให้คุณฝึกการติดตามสภาวะตลาด และเรียนรู้ความผันผวนที่เกิดจากการลงทุนในตลาดหุ้น แม้ว่าตลาดหุ้นจะให้ผลตอบแทนที่สูงในปี 2553 ที่ผ่านมา แต่การปรับตัวลงอย่างแรงของดัชนีหุ้นถึง 4% หรือ 42 จุด จาก 1,006.57 เป็น 963.68 จุด ภายในวันเดียว เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2554 ที่ผ่านมา คงเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความเสี่ยงที่มีอยู่ในระดับสูงของการลงทุนในตลาดหุ้นไทยได้ ส่วนกองทุนไหนที่น่าลงทุนนั้น คุณสามารถเปรียบเทียบผลการดำเนินงานย้อนหลังของกองทุนต่างๆ ได้จาก www.aimc.or.th
            ลงทุนผ่านตลาดหุ้นด้วยตัวเอง หากคุณรู้จักหุ้นหรือกิจการใดเป็นอย่างดี และต้องการลงทุนในหุ้นตัวนั้น คุณเหมาะกับการลงทุนในตลาดหุ้นด้วยตัวเองค่ะ การซื้อขายหุ้นผ่านตลาดหลักทรัพย์สามารถทำได้ผ่านเจ้าหน้าที่การตลาด และ Internet ซึ่งมีความแตกต่างในหลายแง่มุม ดังนี้
            ซื้อขายผ่านเจ้าหน้าที่การตลาดหรือ Marketing คุณสามารถส่งคำสั่งซื้อขายทางโทรศัพท์หรือที่ห้องค้าหลักทรัพย์ และขอคำแนะนำในการซื้อขายหุ้นจากเจ้าหน้าที่ได้ รวมทั้งลดความเสี่ยงในการเกิดข้อผิดพลาดจากการส่งคำสั่งซื้อขายด้วยตนเองทาง Internet คุณไม่ควรมีการซื้อขายเก็งกำไรบ่อยครั้ง เพราะคุณจะได้รับกำไรน้อยลง เนื่องจากค่าธรรมเนียมในการซื้อขายที่สูง ยกตัวอย่าง หากคุณสั่งซื้อหุ้นมูลค่า 100,000 บาท ค่าธรรมเนียม (Commission และ Vat) ที่คุณจะต้องจ่ายในการซื้อคือ (100,000 x 0.25%)+(100,000 x 0.25% x 7%) = 267.50 บาท และหากคุณขายหุ้นในมูลค่า 100,000 บาท คุณจะต้องเสียค่าธรรมเนียมอีก  267.50 บาท รวมเป็นเงิน 535 บาท การซื้อขายบ่อยครั้งไม่เพียงแต่ทำให้คุณต้องเสียค่าธรรมเนียมมากขึ้น ยังเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการเล่นหุ้นของคุณอีกด้วย
            ซื้อขายผ่าน Internet วิธีนี้เหมาะกับคนที่พอจะมีประสบการณ์ในตลาดหุ้น เนื่องจากจะมีความชำนาญในการส่งคำสั่งซื้อขายหุ้นมาบ้าง และต้องการคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่การตลาดไม่มากนัก ข้อดีของการซื้อขายผ่าน Internet คือความสะดวกในการซื้อขาย เนื่องจากนักลงทุนสามารถซื้อขายได้รวดเร็วผ่าน Computer หรือ Program ในโทรศัพท์มือถือ อีกทั้งค่าธรรมเนียมยังถูกกว่าการซื้อขายผ่านเจ้าหน้าที่การตลาดด้วยค่ะ
            สำหรับผู้ที่เลือกลงทุนในตลาดหุ้นด้วยตนเองอาจเกิดความสับสนในความแตกต่างของบัญชีซื้อขายประเภทต่างๆ ได้แก่ Cash Account, Cash Balance Account และ Margin Account ในส่วนนี้จะขอสรุปความหมายของบัญชีทั้ง 3 ประเภท ดังนี้ค่ะ
                               Cash Account คือบัญชีซื้อขายหุ้นที่คุณสามารถสั่งซื้อหุ้นเท่ากับวงเงินที่คุณได้รับ ซึ่งวงเงินจะขึ้นอยู่กับ Statement ที่คุณแสดงไว้กับบริษัทหลักทรัพย์ที่คุณทำการเปิดบัญชี ได้แก่ เงินฝากธนาคาร และกองทุนรวม เป็นต้น จุดเด่นของบัญชีประเภทนี้คือ การชำระเงินค่าซื้อซึ่งคุณไม่ต้องชำระเงินโดยทันที ทางบริษัทหลักทรัพย์จะตัดเงินค่าซื้อจากบัญชีธนาคารที่คุณแจ้งไว้ในวันทำการที่ 3 จากวันที่คุณสั่งซื้อหุ้น (T+3) เช่น คุณซื้อหุ้นวันที่ 10 มีนาคม 2554 เงินจะถูกตัดบัญชีในวันที่ 15 มีนาคม 2554  ในทางกลับกัน คุณจะได้รับเงินจากการขายหุ้นในวันทำการที่ 3 จากวันที่คุณสั่งขายด้วยเช่นกัน
                               Cash Balance Account คือบัญชีซื้อขายหุ้นที่คุณต้องฝากเงินไว้กับบริษัทหลักทรัพย์ที่คุณเปิดบัญชีไว้ หากคุณสั่งซื้อหุ้น เงินจะถูกหักออกจากบัญชีนั้น ดังนั้น ก่อนส่งคำสั่งซื้อขาย คุณต้องตรวจสอบว่าคุณมีเงินในบัญชีที่เพียงพอสำหรับชำระค่าซื้อหรือไม่ อย่างไรก็ตาม เงินที่คุณฝากไว้ในบัญชีของบริษัทหลักทรัพย์จะได้รับดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ และการซื้อขายผ่านบัญชีประเภทนี้จะมีการคิดค่าธรรมเนียมที่ถูกกว่าบัญชีประเภท Cash Account เมื่อส่งคำสั่งซื้อขายผ่าน Internet
                               Margin Account เป็นการกู้ยืมเงินจากบริษัทหลักทรัพย์เพื่อซื้อขายหุ้น โดยใช้เงินสดหรือหุ้นที่ลูกค้ามีเป็นหลักประกัน ทำให้เงินก้อนเดิมมีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่มากขึ้น หากหุ้นที่คุณซื้อปรับตัวเพิ่มขึ้น (เมื่อเปรียบเทียบกับการลงทุนในบัญชี Cash Account และ Cash Balance Account) ทั้งนี้ ทางบริษัทจะมีการคิดดอกเบี้ยในการกู้ยืมเงินด้วย วงเงินที่ได้รับจะขึ้นอยู่กับมูลค่าของหลักประกันและตัวหุ้นที่ใช้เป็นหลักประกันซึ่งแต่ละตัวมีอัตรา Margin ที่แตกต่างกัน ดังนั้น หากมูลค่าหุ้นที่ใช้เป็นหลักประกันปรับตัวลง ทางบริษัทจะแจ้งให้ลูกค้านำหลักประกันมาวางเพิ่ม หากไม่สามารถทำได้ หุ้นที่ลูกค้าใช้เงินที่กู้ยืมซื้อมาจะถูกบังคับขาย ทำให้มีโอกาสขาดทุนได้ง่าย ยกตัวอย่างเช่น มูลค่าเงินลงทุน ณ วันที่ 3 มกราคม (หลักประกันและหุ้นที่ซื้อเข้ามาโดยการกู้ยืม) มีมูลค่า 100,000 บาท ต่อมาในวันที่ 24 มกราคม ซึ่งตลาดหุ้นมีการปรับตัวลงมาอย่างรุนแรง ทำให้มูลค่าของเงินลงทุนลดลงมาเหลือ 34,000 บาท จะเข้าเกณฑ์ที่จะต้องถูกเรียกหลักประกันเพิ่ม เนื่องจากบริษัทหลักทรัพย์กำหนดเกณฑ์ไว้ว่า หากมูลค่าเงินลงทุนลดลงต่ำกว่า 35% ของมูลค่าเงินลงทุนเริ่มต้น คุณจะถูกทางบริษัทหลักทรัพย์เรียกหลักประกันเพิ่ม แต่หากคุณไม่สามารถนำเงินมาเพิ่มหลักประกัน และมูลค่าเงินลงทุนลดลงมาต่ำกว่า 25,000 บาท (25% ของเงินลงทุน) คุณจะถูกบังคับขายหุ้นที่มีโดยทันที
สรุปแล้ว หากท่านเป็นมือใหม่หัดลงทุน ขอแนะนำให้สมัครบัญชีแบบ Cash Account หรือ Cash Balance Account ดีกว่าค่ะ โดยบัญชีแบบ Cash Account จะสะดวกในการซื้อขายมากกว่า แต่จะต้องเตรียม Statement ให้เพียงพอกับที่บริษัทหลักทรัพย์กำหนดไว้ด้วยนะคะ เช่นบริษัทหลักทรัพย์ ABC กำหนด Statement ขั้นต่ำที่ 100,000 บาท ดังนั้นคุณควรนำบัญชีเงินฝากที่มียอดเงินอย่างน้อย 100,000 บาท ไปแสดงกับบริษัทหลักทรัพย์เพื่อพิจารณาในการเปิดบัญชีด้วยค่ะ ส่วน Margin Account นั้น ค่อนข้างเหมาะกับมือโปรที่มีประสบการณ์สูงค่ะ ทั้งนี้ เงื่อนไขการเปิดบัญชีและค่าธรรมเนียมในการซื้อขายจะแตกต่างกันในแต่ละบริษัทหลักทรัพย์ ดังนั้น ท่านควรศึกษาข้อมูลส่วนนี้เพิ่มเติมก่อนเปิดบัญชีด้วย 
สุดท้ายนี้ อย่าลืมว่าการศึกษาข้อมูลก่อนการลงทุนเป็นสิ่งสำคัญ และควรแบ่งเงินส่วนน้อยมาลองลงทุนดูก่อน เมื่อคุณมีประสบการณ์และความมั่นใจมากขึ้น จึงค่อยทยอยเพิ่มเงินลงทุน ขอให้โชคดีกับการลงทุนค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

เคล็ดลับที่โรงเรียนไม่สอน..ตอน "เริ่มต้นการลงทุน"

 วันนี้ขอเริ่มเรื่องการลงทุนเบื้องต้นก่อนเลยแล้วกัน ^^* แต่ขอยกเครดิตให้แก่ k-weplan น๊ะค่ะ
((ในเมื่อมีสูตรสำเร็จ บางครั้งเราก็ไม่ควรทำให้มันซับซ้อนจริงไมล่ะ?? คิดเยอะๆๆปวดหัว ฮ่าๆๆ))

เริ่มต้นลงทุน..
     ภาวะปัจจุบันที่สถานการณ์ทางเศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การเก็บออมกับธนาคารเพียงอย่างเดียวอาจได้รับผลตอบแทนไม่เพียงพอที่จะชดเชยค่าครองชีพที่นับวันจะเพิ่มมากขึ้น สาเหตุเกิดจากอัตราเงินเฟ้อทะยานขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงที่ผ่านมา ดังนั้นเราควรเริ่มมองหาวิธีที่จะช่วยให้เงินออมที่เก็บไว้งอกเงยขึ้นผ่านการลงทุน เพื่อชดเชยอำนาจซื้อที่อาจสูญหายในอนาคต กรณีที่สินค้าและราคาข้าวของแพงขึ้นกว่าเดิม

    การลงทุนทำได้หลายรูปแบบไม่ว่าจะลงทุนทางตรง เช่น เปิดร้านอาหาร ซื้อที่ดิน ซื้อทองคำ หรือลงทุนทางอ้อม เช่น ลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่สถาบันการเงินเสนอขาย การลงทุนทางตรงจะต้องอาศัยเงินทุนสูง รวมถึงประสบการณ์ทางธุรกิจ เช่น อำนาจการต่อรองทางการค้า และเงินทุนหมุนเวียนในการทำธุรกิจกรณีเป็นเจ้าของกิจการ  ซึ่งอาจเป็นเรื่องที่ยากสำหรับผู้ที่ไม่รู้ลึกในธุรกิจนั้นอย่างแท้จริง แต่สำหรับการลงทุนทางอ้อมในผลิตภัณฑ์ทางการเงินนั้น สามารถเริ่มต้นด้วยเงินลงทุนที่ต่ำกว่า มีสภาพคล่องสูงเนื่องจากมีตลาดรองรับสามารถขายคืนได้ทันที และไม่ต้องอาศัยประสบการณ์ทางธุรกิจ เพียงแต่เข้าใจถึงนโยบายการลงทุนของผลิตภัณฑ์ดังกล่าวว่า เรากำลังลงทุนในอะไร มีความเสี่ยงต่ำหรือสูง และมีเงื่อนไขหรือปัจจัยสำคัญอะไรที่ควรพิจารณาก่อนตัดสินใจลงทุน

เช็คความพร้อมด้านการเงิน ก่อนเริ่มลงทุน..
             ถ้าชีวิตเราเหมือนการเดินทาง แน่นอนถ้าจะเดินทางไกลหากเราไม่ตรวจเช็คเครื่องอย่างสม่ำเสมอ แล้วเกิดยางแตก หรือหม้อน้ำรั่วอาจทำให้ไปไม่ถึงจุดหมาย หรือไปถึงได้ล่าช้าลง ชีวิตก็เหมือนการเดินทาง ต้องมีการตรวจเช็คความพร้อมทางด้านการเงินก่อน
             ขั้นแรก ของการเช็คความพร้อมก่อนเริ่มลงทุน เราควรมีเงินเก็บสำรองอย่างน้อย 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายรายเดือน เพื่อสำรองไว้สำหรับเหตุการณ์ฉุกเฉินในอนาคต สำหรับผู้ที่มีภาระผ่อนหนี้สิน หรือภาระดูแลบุตร บิดามารดา แนะนำให้สำรองเงินดังกล่าวมากกว่าผู้ที่ไม่มีภาระใดๆ เงินสำรองฉุกเฉินก้อนนี้ควรเก็บไว้ในบัญชีที่มีความเสี่ยงต่ำ พร้อมสำหรับการใช้จ่ายได้ทันที เช่น บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ หรือบัญชีกองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้น
 ขั้นที่สอง ตรวจเช็คภาระหนี้สินที่มีอยู่ของตัวคุณ ว่ามีต้นทุนทางการเงินหรือดอกเบี้ยที่สูงหรือต่ำกว่าการลงทุนที่คุณกำลังเลือก เพราะผลตอบแทนจากการลงทุนอาจไม่คุ้มค่ากับดอกเบี้ยที่จ่ายไป กล่าวคือการนำเงินไปชำระหนี้อาจสร้างประโยชน์มากกว่าการนำเงินไปซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อการลงทุน ยกตัวอย่างเช่น การนำเงินโบนัสจำนวน 100,000 บาท มาชำระหนี้จำนองบ้านกับธนาคารพาณิชย์ซึ่งเสียดอกเบี้ยในอัตรา 7% ต่อปี ย่อมคุ้มค่ากว่าการนำเงินจำนวนเดียวกันมาลงทุนในหุ้นกู้ที่ให้ดอกเบี้ย 3.60%ต่อปี เป็นต้น
 ขั้นสุดท้าย ตรวจเช็คระดับความสามารถในการยอมรับความเสี่ยงของตัวเราเองว่ามีมากน้อยเพียงใด โดยเลือกนำเงินไปลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยง ซึ่งระดับความเสี่ยงของแต่ละบุคคลจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายด้านได้แก่ อายุ สุขภาพ ความรู้และประสบการณ์ สถานะ ภาระหนี้ และความมั่งคั่งที่มี
 การตรวจเช็คความพร้อมทางการเงิน ก่อนเริ่มต้นลงทุน มีส่วนช่วยให้คุณกำหนดเป้าหมายการลงทุนได้ชัดเจนขึ้น และช่วยให้การจัดสรรเงินลงทุนบรรลุเป้าหมายที่ตั้งใจ

รู้จักผลตอบแทนและความเสี่ยงในการลงทุน..
            นอกจากการฝากเงินกับธนาคารหรือสถาบันการเงินที่ให้ดอกเบี้ยคงที่แล้ว การลงทุนนั้นมีโอกาสให้ผลตอบแทนที่คาดหวังดีกว่า แต่ก็มีความเสี่ยงสูงกว่าเช่นกัน สำหรับผลตอบแทนจากการลงทุนจะประกอบไปด้วยสองส่วน ส่วนแรกคือ กระแสเงินสด หรือรายได้รับระหว่างช่วงลงทุน ซึ่งอาจอยู่ในรูปเงินปันผลหรือดอกเบี้ย ส่วนที่สองคือกำไรจากการขายหลักทรัพย์ในราคาที่สูงขึ้น (หรือต่ำลง) กว่าราคาที่ซื้อ หรือเรียกว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงราคาของหลักทรัพย์
สำหรับความเสี่ยงจากการลงทุนนั้น หมายถึง โอกาสที่ผลตอบแทนที่จะได้รับเบี่ยงเบนไปจากอัตราผลตอบแทนที่ได้คาดหวังไว้ โดยความเสี่ยงเกิดจากปัจจัยหลายด้าน เช่น เกิดจากการที่ผู้ออกตราสารผิดนัดชำระหนี้ (Credit risk), เกิดจากสภาวะตลาด (Market risk) หรือเกิดจากสภาพคล่องสำหรับใช้จ่าย (Liquidity) ทำให้มูลค่าการลงทุนของเราผันผวน เป็นต้น
โดยทั่วไป นักลงทุนหน้าใหม่เข้ามาลงทุน มักมองข้ามความสัมพันธ์ระหว่างผลตอบแทน และความเสี่ยง โดยต้องการเพียงผลตอบแทนจากการลงทุนสูงสุด ทำให้การลงทุนของตัวเองไม่ประสบความสำเร็จ เพราะขาดสภาพคล่องทางการเงิน รับมือกับสภาวะขาดทุนในระยะสั้นที่เกิดขึ้นไม่ได้ เกิดความกังวล จนกลัวต่อผลขาดทุน ดังนั้นก่อนเริ่มต้นลงทุน คุณควรประเมินระดับความเสี่ยงที่คุณยอมรับได้ หลังจากนั้นจึงเริ่มมองหาผลิตภัณฑ์ที่ให้ผลตอบแทนสอดคล้องกับระดับความเสี่ยงที่รับได้ของคุณ และศึกษาข้อมูลการลงทุนประกอบการตัดสินใจ ซึ่งจะช่วยให้คุณลงทุนได้อย่างรอบคอบมากยิ่งขึ้น
หากไม่ได้ประเมินความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน อาจทำให้ลงทุนผิดพลาดได้ เช่น ต้องการเก็บเงินลงทุนไว้สำหรับการหมั้นสาวในอีก 6 เดือน แต่กลับนำเงินจำนวนดังกล่าวไปซื้อหุ้นเก็งกำไรซึ่งมีโอกาสได้รับกำไรหรือขาดทุนสูง เงินที่ลงทุนอาจคงเหลือไม่เพียงพอสำหรับสินสอดก็ได้  แต่ถ้าหากคุณนำเงินไปลงทุนในกองทุนรวมตราสารหนี้ที่มีระยะเวลาลงทุน 6 เดือน ซึ่งมีความเสี่ยงที่ต่ำกว่า เมื่อครบกำหนดเวลาในการลงทุน ผู้ลงทุนจะได้รับเงินต้นพร้อมผลตอบแทนตามที่ตกลง ทำให้คุณเตรียมเงินไว้พร้อมตามเป้าหมายที่ตั้งใจ หรือกรณีนักลงทุนสูงอายุที่มีเงินก้อนสุดท้าย และต้องการรายได้ที่แน่นอน การลงทุนในหุ้นกู้ และพันธบัตรรัฐบาลจึงเป็นทางเลือกที่ดีกว่าการนำเงินไปซื้อหุ้นสามัญบริษัทเติบโตที่ไม่มีการจ่ายผลตอบแทน
นอกจากการรู้ระดับความเสี่ยงที่ตนยอมรับได้ และรูปแบบของผลตอบแทนที่จะได้รับจากการลงทุนแล้ว การจัดสรรเงินไว้ให้เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน ดังนั้นก่อนลงทุนต้องอย่าลืมกันเงินไว้เพื่อเป็นสภาพคล่องสำรองค่าใช้จ่ายอย่างน้อย 3-6 เท่าของรายจ่ายต่อเดือนด้วย

คุณรับความเสี่ยงได้แค่ไหน..
เคยสงสัยไหมว่า พอลงทุนไปแล้ว เกิดขาดทุน คุณรู้สึกจะเป็นลม ปริวิตกกังวลอยู่ตลอดเวลา หรือในทางกลับกัน พอเห็นเพื่อนลงทุนได้กำไรเยอะๆ ก็รู้สึกว่า ที่เราลงทุนไปน่าจะกล้าๆกว่านี้หน่อย นั่นแสดงว่า เงินลงทุนของคุณยังอาจอยู่ไม่ถูกที่ถูกทาง หรือลงทุนไปไม่หมาะกับระดับความเสี่ยงที่คุณรับได้
สำนักงาน ก.ล.ต. จึงได้ออกหลักเกณฑ์กำหนดให้ก่อนการลงทุนในตราสารทางการเงิน ผู้ลงทุนต้องทำแบบประเมินความเสี่ยงก่อน เพื่อให้ผู้ลงทุนทราบว่า ตนเองรับความเสี่ยงได้เท่าไร บางท่านอาจคิดว่าตนเองรับความเสี่ยงได้สูง แต่จริงๆ แล้วท่านอาจรับความเสี่ยงได้น้อยก็ได้ เพราะแบบประเมินความเสี่ยงจะประเมินจากปัจจัยด้านระยะเวลาลงทุน อายุของผู้ลงทุน วัตถุประสงค์การลงทุน ประสบการณ์การลงทุน ข้อจำกัด และภาระทางการเงิน ประกอบกัน
หลักเกณฑ์นี้ใช้บังคับกับการลงทุนในกองทุนรวมด้วย ดังนั้น  หากท่านคิดลงทุนในกองทุนรวม ท่านก็จะต้องทำแบบประเมินความเสี่ยงในการลงทุน (Customer Risk Profile) ก่อนลงทุนด้วยเช่นกันค่ะ เมื่อประมวลผลแล้ว นักลงทุนจะถูกแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มด้วยกัน ประกอบด้วย
-           นักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ต่ำ หากท่านอยู่ในกลุ่มนี้แสดงว่า เหมาะลงทุนในกองทุนที่มีระดับความเสี่ยงเท่ากับ 1 หรือสามารถลงทุนเฉพาะกองทุนรวมตลาดเงินที่ลงทุนเฉพาะในประเทศเท่านั้น
-           นักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ระดับปานกลางค่อนข้างต่ำ เหมาะกับการลงทุนในกองทุนระดับความเสี่ยงตั้งแต่ 1-4  หรือสามารถลงทุนเพิ่มได้อีกในกองทุนรวมตราสารหนี้ กองทุนรวมพันธบัตร และกองทุนรวมตลาดเงิน
-           นักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ปานกลางค่อนข้างสูง เหมาะกับการลงทุนในกองทุนระดับความเสี่ยงตั้งแต่ 1-5 หรือสามารถลงทุนเพิ่มได้อีกในกองทุนรวมผสม
-           นักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูงเหมาะกับการลงทุนในกองทุนระดับความเสี่ยงตั้งแต่ 1-7 หรือสามารถลงทุนเพิ่มได้อีกในกองทุนรวมตราสารทุน
-            นักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูงมาก เหมาะกับการลงทุนในกองทุนระดับความเสี่ยงตั้งแต่ 1-8 หรือสามารถลงทุนเพิ่มได้อีกในกองทุนรวมที่มีการลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือก
การที่คุณทราบว่าตนเองเป็นนักลงทุนกลุ่มไหนจะช่วยให้คุณรู้จักตนเองว่า เหมาะที่จะลงทุนในกองทุนรวมประเภทใด ที่ตรงกับความเสี่ยงที่คุณยอมรับได้มากที่สุด หลังจากทำแบบประเมินแล้ว ผลลัพธ์จะถูกเก็บไว้สองปี แต่ถ้าอยากลองทำใหม่ ก็สามารถทำได้ค่ะ และผลลัพธ์ที่ได้ ก็ไม่ได้หมายความว่า ห้ามการลงทุนเลย คุณยังสามารถลงทุนในกองทุนรวมประเภทต่างๆ ได้เหมือนเดิม เพียงแต่ถ้าต้องการลงทุนในกองทุนที่เสี่ยงกว่าระดับที่คุณรับได้ ต้องมีการลงนามรับทราบในเรื่องความเสี่ยงเพิ่มเติมค่ะ

ทำไมควรลงทุนตามระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้??
           ปัจจุบันนักลงทุนที่ต้องการลงทุนในผลิตภัณฑ์ด้านการลงทุนที่เสนอขายผ่านสถาบันการเงิน ต้องประเมินความสามารถในการรับความเสี่ยงด้วยการทำแบบสอบถามเพื่อประเมินระดับความเสี่ยง (Customer Risk Profile) ก่อน ซึ่งเป็นขั้นตอนเริ่มต้นก่อนการซื้อขายหลักทรัพย์ โดยในประเทศไทยนั้นได้กำหนดหลักเกณฑ์ให้ผู้ขายต้องจัดให้ผู้ลงทุนทำแบบประเมินความเสี่ยงเช่นเดียวกันกับในต่างประเทศ เนื่องจากที่ผ่านมามีผู้ลงทุนที่มีการลงทุนตามกระแสที่ฮิต คิดเป็นสัดส่วนค่อนข้างมาก เช่น ฮิตน้ำมัน ทองคำ ก็ตามเข้าไปซื้อโดยที่ไม่รู้ พอถึงเวลาที่ผลตอบแทนที่ได้รับไม่เป็นไปตามที่คิด ก็อาจทำให้เงินที่เหลือใช้หมดไป 
ทำไมต้องทำแบบประเมิน คำตอบก็คือ การลงทุนมีความเสี่ยง หากผู้ลงทุนตัดสินใจลงทุนโดยไม่รู้ว่าหลักทรัพย์ที่เลือกเหมาะสมหรือไม่ เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันอาจรับกับสภาวะขาดทุนไม่ได้ หรือมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการลงทุนในอนาคต เช่น รับความเสี่ยงได้ต่ำแต่นำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงเจอผลขาดทุน หรือรับความเสี่ยงได้สูง แต่ไปลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำก็ทำให้เงินเก็บไม่งอกเงย การประเมินระดับความเสี่ยงก่อนเริ่มต้นลงทุนจึงช่วยทำให้ผู้ลงทุนรู้ว่า การลงทุนแบบใดเหมาะสมกับตนเอง อย่างไรก็ตาม กรณีผู้ลงทุนได้ทำการประเมินความเสี่ยงแล้วพบว่าตนเองรับความเสี่ยงได้อยู่ในระดับต่ำ แต่ต้องการลงทุนในกองทุนที่มีความเสี่ยงสูงก็ยังสามารถลงทุนได้โดยจะต้องลงนามเพื่อรับทราบความเสี่ยงเพิ่มเติม
นอกจากการลงทุนที่เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงจะช่วยในการเลือกผลิตภัณฑ์ทางการเงินสำหรับตัวผู้ลงทุนแล้ว ยังเป็นเหมือนสัญญาณเตือนภัย หากผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีความซับซ้อนเกินกว่าที่ผู้ลงทุนจะสามารถลงทุนได้ เช่น การลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศ หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เป็นต้น ซึ่งถ้าผู้ลงทุนสนใจลงทุนก็ต้องศึกษาถึงรูปแบบของผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ก่อนตัดสินใจลงทุนมากขึ้น
การที่ผู้ลงทุนศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน ทำให้เกิดการเรียนรู้ในผลิตภัณฑ์ทางการเงินนั้นเป็นเรื่องที่ดี แต่การเข้าใจในสินค้าที่จะลงทุนเป็นเพียงการ รู้เขา เท่านั้น หรือเพียงรู้จักสินค้าทางการเงินของผู้ออกผลิตภัณฑ์ การที่ผู้ลงทุนมีการทำแบบประเมินความสามารถในการยอมรับความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน จะทำให้ผู้ลงทุนได้ รู้เรา คือรู้จักตนเองว่าควรลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงินประเภทใด ซึ่งเป็นการช่วยลดปัญหาการลงทุนที่ผิดพลาด หรือลงทุนในสิ่งที่ตนไม่รู้ว่าเหมาะสมหรือไม่

เลือกลงทุนให้เหมาะกับระดับความเสี่ยง..
          หลังจากที่ รู้เรา แล้วว่า ตัวเราเองรับความเสี่ยงได้ในระดับใด ด้วยการทำแบบประเมินระดับความเสี่ยงในการลงทุนที่เหมาะสม (Customer Risk Profile) ที่ใช้ปัจจัยของผู้ลงทุนหลายๆ ด้าน เช่น อายุ ประสบการณ์การลงทุน การยอมรับกับการขาดทุน หรือมูลค่าการลงทุนเมื่อเทียบกับความมั่งคั่ง เป็นต้น การเลือกลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงจะช่วยเพิ่มความมั่นใจในการลงทุนให้มากยิ่งขึ้น เปรียบเสมือน อยู่กับสิ่งที่ใช่ เลือกในสิ่งที่ชอบ ให้กับตัวเราเองซึ่งนอกจากจะช่วยลดความกังวลใจ เมื่อประสบกับความผันผวนในการลงทุนที่มีโอกาสทั้งกำไรและขาดทุนแล้ว ยังช่วยในการตัดสินใจต่อไปได้อีกว่า มีผลิตภัณฑ์การลงทุนประเภทไหนบ้างที่เหมาะกับตัวเรา
ผู้ลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ต่ำ ควรลงทุนในผลิตภัณฑ์ประเภทที่มีความเสี่ยงต่ำ มีความมั่นคงสูง ได้แก่ เงินฝากประจำ พันธบัตรรัฐบาล ตราสารหนี้ภาครัฐ ตราสารหนี้รัฐวิสาหกิจ เนื่องจากเป็นทางเลือกที่เหมาะกับผู้ที่ต้องการความคุ้มครองเงินต้นในระดับสูง ไม่ต้องการให้ปัจจัยใดๆ มากระทบกับมูลค่าการลงทุนมากนัก อีกทั้งยอมรับกับผลตอบแทนที่ต่ำได้ แม้ผลตอบแทนในบางช่วงที่ได้รับอาจไม่ชนะเงินเฟ้อก็ตาม 
ผู้ที่รับความเสี่ยงในระดับปานกลาง จะสามารถรับความเสี่ยงเพิ่มขึ้นจากกรณีข้างต้น จากเดิมที่เคยลงทุนในตราสารหนี้มาเป็นการลงทุนที่มีตราสารทุนเพิ่มเติม เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้น  การลงทุนที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่รับความเสี่ยงได้ปานกลางจึงเป็นได้ทั้งตราสารหนี้และตราสารทุนที่มีส่วนผสมในสัดส่วนหลากหลาย ขึ้นอยู่กับว่าผู้ที่รับความเสี่ยงได้ปานกลางต้องการความเสี่ยงระดับปานกลางค่อนข้างต่ำที่มีสัดส่วนการลงทุนในตราสารทุนน้อย หรือความเสี่ยงระดับปานกลางค่อนข้างสูงที่มีสัดส่วนการลงทุนในตราสารทุนเพิ่มมากขึ้น
ผู้ที่รับความเสี่ยงได้สูงนั้นมักจะยินดีที่จะรับความเสี่ยงเพื่อผลตอบแทนคาดหวังที่สูงขึ้น แม้มีโอกาสที่จะประสบกับภาวะขาดทุนก็ตาม เนื่องจากมีทั้งความพร้อมและความเต็มใจในโอกาสที่จะเกิดขึ้นอันส่งผลต่อมูลค่าการลงทุน ตราสารประเภทที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ ตราสารทุน (หุ้นในตลาดหลักทรัพย์) สินค้าโภคภัณฑ์ หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ที่มีการเปลี่ยนแปลงของราคาอ้างอิงกับอุปสงค์และอุปทานของตลาดโลกเป็นหลัก
    การเลือกลงทุนให้เหมาะกับระดับความเสี่ยง นอกจากจะช่วยลดความผิดพลาดในการเลือกประเภทสินทรัพย์ลงทุนตั้งแต่แรกเริ่มแล้ว ยังช่วยให้การลงทุนเป็นไปอย่างราบรื่น เพราะเราได้เลือกลงทุนอย่างรู้ทิศทาง อยู่กับสิ่งที่ใช่ เลือกในสิ่งที่ชอบ  กัน

จัดสรรเงินอย่างไรให้เหมาะกับคุณ..
          การจัดสรรเงินเพื่อการลงทุนนั้นแตกต่างจากการจัดสรรเงินเพื่อสำรองใช้จ่าย เนื่องจากการจัดสรรเงินลงทุนเป็นการนำเงินสดส่วนเกินที่มีอยู่หลังจากที่ได้สำรองค่าใช้จ่ายส่วนตัวไว้แล้ว ไปลงทุนเพิ่มเพื่อสร้างผลตอบแทนที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตามก่อนที่คุณจะจัดสรรเงินลงทุนนั้นควรหาคำตอบให้ได้เสียก่อนว่า เป้าหมายการลงทุนของคุณคืออะไร คุณสามารถยอมรับความเสี่ยงได้ในระดับใด และมีระยะเวลาที่ต้องการลงทุนนานแค่ไหน เนื่องจากเป้าหมาย ระยะเวลา และความเสี่ยงมีความสัมพันธ์กัน ยกตัวอย่างเช่น คุณมีเป้าหมายแรกที่ต้องการมีเงินไว้สำหรับเกษียณอายุ ในอีก 15 ปีข้างหน้า และรับความเสี่ยงได้ปานกลางค่อนข้างสูง การจัดสรรเงินลงทุนที่ให้น้ำหนักกับตราสารทุนจะช่วยให้คุณบรรลุเป้าหมายได้ง่ายขึ้น เนื่องจากตราสารทุนให้ผลตอบแทนโดยเฉลี่ยประมาณ 12-18% ต่อปี สำหรับการลงทุนระยะยาว อย่างไรก็ตาม ในอนาคตเมื่อคุณใกล้ที่จะบรรลุเป้าหมายการลงทุนแล้ว คุณอาจพิจารณาลดน้ำหนักการลงทุนในตราสารทุนลงก็เป็นได้ เห็นได้ว่าการจัดสรรเงินที่ดีจะต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนก่อนเสมอ เพราะจะช่วยให้คุณกำหนดลักษณะการลงทุนที่สอดคล้องกับเป้าหมายได้อย่างถูกต้อง
กรณีที่เป้าหมายการลงทุนของคุณมีความสำคัญมาก และมีระยะเวลาลงทุนที่ไม่นานนัก เช่น มีเป้าหมายสำหรับค่าเทอมบุตรในอีก 3 -6 เดือนข้างหน้า การแบ่งเงินไปลงทุนในตราสารที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น กองทุนรวมตราสารหนี้ที่มีระยะเวลา 3 6 เดือน แทนการนำเงินไปเก็บไว้ในตราสารทุนที่มีความเสี่ยงสูงเป็นทางเลือกที่เหมาะสม เพราะการลงทุนในตราสารทุนด้วยระยะเวลาอันสั้น หากเกิดความผิดพลาดอาจทำให้คุณตั้งต้นใหม่ไม่ทัน
สำหรับผู้ที่ประสงค์สร้างความมั่งคั่งทางการเงินผ่านการลงทุน การจัดสรรเงินไปเก็บไว้ในตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงต่ำเพียงอย่างเดียว เช่น ลงทุนในตั๋วแลกเงิน พันธบัตรระยะสั้น หรือกองทุนรวมตลาดเงิน จะไม่ช่วยให้คุณประสบความสำเร็จจากการลงทุนเท่าที่ควร เนื่องจากผลตอบแทนที่ได้รับไม่เพียงพอที่จะชดเชยเงินเฟ้อ ดังนั้น สำหรับผู้ที่สามารถรับความเสี่ยงได้ต่ำ และได้กันเงินสำรองต่อการดำรงชีพแล้ว แนะนำให้จัดสรรเงินลงทุนบางส่วนในตราสารทุนบ้าง เช่น ลงทุนในตราสารทุนประมาณ 10-20% ของมูลค่าเงินลงทุนทั้งหมด ส่วนที่เหลือเป็นการลงทุนในตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น กองทุนรวมตลาดเงิน พันธบัตร หรือหุ้นกู้ เป็นต้น นอกจากนี้การลงทุนระยะยาวในอสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน หรือสิ่งปลูกสร้าง นอกจากจะช่วยให้คุณได้รับกำไรที่เป็นส่วนต่างราคา (Capital Gain) ในช่วงที่เศรษฐกิจเฟื่องฟู อีกทั้งยังสามารถสร้างดอกผลระหว่างทางด้วยการปล่อยเช่าได้อีกด้วย
แหล่งความรู้เพื่อการลงทุนที่น่าสนใจ..
     สำหรับผู้ที่เริ่มต้นลงทุนในครั้งแรก อาจไม่ทราบว่าควรเริ่มศึกษาข้อมูลการลงทุนจากที่ใด เนื่องจากมีข้อมูลให้ศึกษาค้นคว้าอยู่มากมาย ทั้งในแง่ของข้อมูลที่ใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุน รวมถึงขั้นตอนต่างๆสำหรับผู้ที่ต้องการลงทุน สำหรับนักลงทุนมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มหัดลงทุนแล้ว การมีจุดเริ่มต้นดีๆ ในการศึกษาหาข้อมูลจะช่วยให้คุณมีความมั่นใจในการเริ่มต้นลงทุนได้ โดยศึกษาได้จากข้อมูลของหน่วยงานต่าง ๆ เช่น
                TSI (Thailand Securities Institute) สถาบันพัฒนาความรู้ตลาดเงิน และตลาดทุน ที่ได้รวมรวมความรู้เพื่อการลงทุนไว้ที่ www.tsi-thailand.org โดยมีหัวข้อน่าสนใจได้แก่ เส้นทางลงทุน เส้นทางวิชาชีพ หลักสูตร บทความน่าสนใจ รวมถึงการจัดอบรม และสัมมนาทางการเงินที่สถาบันจัดทำขึ้น
                Settrade นักลงทุนสามารถติดตามราคาหลักทรัพย์ได้ที่ www.settrade.com ซึ่งเป็นแหล่งรวบรวมราคาสินทรัพย์ประเภทต่าง ๆ ตั้งแต่หุ้น ทองคำ น้ำมัน หน่วยลงทุน อัตราแลกเปลี่ยน สัญญาซื้อขายล่วงหน้า ฯลฯ
                SET (Stock Exchange of Thailand) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หากคุณต้องการทราบข้อมูลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ดัชนีตลาด สถิติ ราคาหลักทรัพย์ วิธีการ และระบบที่ใช้ในการซื้อขายหลักทรัพย์ สามารถดูได้จากเวปไซด์ www.set.or.th ซึ่งเป็นศูนย์กลางในการรวบรวมข้อมูล
                SEC (Securities Exchange Commission) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งมีเวปไซด์ www.sec.or.th ที่ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ หลักการ ข้อปฏิบัติ รวมถึงรายชื่อบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตในการประกอบธุรกิจตามพรบ.หลักทรัพย์ฯ รายชื่อผู้ติดต่อผู้ลงทุน
                AIMC (Assosiation of Investment Management Company) สมาคมบริษัทจัดการลงทุน รวบรวมข้อมูลรายอุตสาหกรรมของกองทุนรวม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุนส่วนบุคคล ไว้ที่เวปไซด์ www.aimc.or.th
               Thaimutualfund.com กองทุนรวมซึ่งได้รวบรวมเรื่องน่ารู้ และเกร็ดทั่วไป ข้อมูลโดยสังเขปของกองทุนรวมประเภทต่าง ๆ ไว้ที่ www.thaimutualfund.com
หลังจากที่ท่านเสาะหาแหล่งข้อมูลแล้ว หากมีปัญหาทางการเงินสามารถปรึกษากับที่ปรึกษาทางการเงินส่วนบุคคล ผ่านที่ปรึกษาของท่าน ที่ได้แนะนำไว้เมื่อวาน ที่จะตอบปัญหาด้านการออมและการลงทุน ภาษีเงินได้ และสินเชื่อ

  วันนี้ก็ขอจบแค่นี้แล้วกันเนอะ!! ลายตากันรึป่าวค่ะ?? ถึงเนื้อหาจะเยอะนิดนึง แต่ว่าสาระเต็มเปี่ยม ^0^*  เดี๋ยวต้องรีบไปแล้ว กลัวโดนพี่ๆดุที่แอบอู้มาอัฟบล็อก ((แต่คงไม่โดนดุหรอกมั้ง เพราะพี่ๆฟินันเซีย ไซรัส น่าร๊ากและใจดีทุกๆคนเลย ..พูดจริงๆนะค่ะ))  ว่าแล้วก็ไปดีกว่า.. บ๊ะบ๊ายค่ะ