วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เคล็ดลับที่โรงเรียนไม่สอน..ตอน "กราฟ กราฟ กราฟ" ((ภาค 1))

(^________________________________________________________^)*

สวัสดีค่ะ  เพื่อนๆที่น่ารักทุกท่าน!! เมื่อวานมีใครได้ของขวัญจากซานต้าสุดหล่อบ้างค่ะ?? Sailorty ขอบอกว่า ป๋มได้ก๊าฟ ((อิจฉากันอ่าจิ หุหุ)) ก็ไม่ใช่จากซานต้าอื่นไกลที่ไหนหรอกค่ะ เป็นซานต้าใกล้ตัวนี่เอง นั้นก็คือ ซานต้าก้อง เจ้าหน้าที่แสนดีนี่เอง ฮ่าๆๆ ขอบคุณมากๆๆนะค่ะ เป็นของขวัญชิ้นแรกของวันศริสมาสในรอบสี่สิบปีเลยล่ะ ^^*

มาเข้าเรื่องของเราดีกว่าเนอะ ^^* จะได้ไม่เสียเวลากับการบรรยายไร้สาระของ Sailorty ที่กระทำจนเป็นนิสัย 55+ เรื่องการมีอยู่ว่า สัปดาห์ที่แล้วได้สัญญากับตัวเองและเพื่อนว่า.. จะนำเสนอเกี่ยวกับการวิเคราะห์หุ้นด้วยการใช้กราฟเทคนิค แต่ตอนนี้กำลังงงกับตัวเองว่าจะเริ่มต้นยังไงดี -*- เลยขออนุญาตนำเสนอในรูปแบบของโปรแกรม Efinance ที่มีการให้บริการฟรี ((เพราะ Sailorty ชอบของฟรีค่ะ)) และง่ายต่อการเรียกใช้งาน ^^*

เครื่องมือจะทำให้เราผ่อนแรงได้มาก ..เราไม่สามารถยกรถยนต์ได้โดยลำพัง แม้ว่าให้นักกล้าม 10 คนยก ก็ไม่น่าจะยกได้นานเกิน 2-3 นาที หากว่าเราใช้แม่แรงตัวเล็กๆสามารถยกรถยนต์ทั้งวันยังได้เลย  ((ทุกสิ่งทุกอย่างหากเราใช้เครื่องมือที่ดีและเหมาะสม เราจะได้รับประโยชน์จากเครื่องมือนั้นๆ โดยที่เราไม่จำเป็นต้องใช้กำลังทั้งหมดของเรา ..ทำไมคนที่ลงทุนในหลักทรัพย์โดยทั่วไปไม่สนใจที่จะใช้เครื่องมือเกี่ยวกับงานของเขาทั้งที่เครื่องมือทางด้านนี้ก็มีอยู่มากมาย เราเล่นหุ้นเราควรมีเครื่องมือวิเคราะห์หุ้น ^^*


มาเริ่มกันเร๊ยยย!!

การใช้งานโปรแกรม RealTime
เพื่อช่วยให้เข้าใจเวลาที่มีการพูดถึงคำศัพท์ดังกล่าว


อธิบายตามหมายเลยที่ปรากฏในรูป
1. รูปที่ 1
เป็น Title window จะอธิบายว่าเป็น Realtime Portal Version ไหนอยู่ซึ่งในรูปเป็น version ( 2.0.0.0 ) อยู่และบอกอีกว่าเราเรียกใช้ Template หน้าไหนอยู่อย่างในรูปเราเรียกหน้า Stock Quote อยู่
2. รูปที่ 2 เป็น Menu Bar จะเป็นเมนูคำสั่งของโปรแกรม Realtime Portal ซึ่งประกอบไปด้วย
2.1 File เป็นคำสั่งหลักเกี่ยวกับโปรแกรม
2.2 Quote เป็นหน้า Template ต่างๆของโปรแกรมที่นอกจาก Template หลักใช้สำหรับ ในการ Mix Template เอง
2.3 News เป็นหน้าข่าว ที่ใช้สำหรับในการ Mix Template เอง
2.4 Graph เป็นหน้ากราฟที่ใช้สำหรับในการ Mix Template เอง
2.5 Setting เป็นที่ใช้สำหรับการตั้งค่า Front, color, Background จองโปรแกรม
2.6 Hotkey เป็นที่ใช้สำหรับการตั้ง Hotkey สำหรับ Template ที่เรา Mix ขึ้นมาเอง
2.7 View เป็นที่รวบรวมของคู่มือการใช้งานโปรแกรมและสูตรคำนวณบางอย่าง
2.8 Lock เป็นส่วนที่ใช้ Lock ไม่ให้สามารถเปิด template ย่อยที่เราสร้างขึ้นมาได้
2.9 Reload เป็นส่วนที่ใช้สำหรับ Load Template ใหม่เวลาที่เราลบ Template
3. รูปที่ 3 เป็น Title Bar เป็นส่วนที่บอกชื่อส่วนของ Template ย่อย
4. รูปที่ 4 เป็นส่วนที่บอกสถานะของโปรแกรมว่ามีการติดต่อกับ Server หรือไม่โดยสังเกตจากสีของตัว EFIN ว่าเป็นสีแดง แสดงว่า ไม่ติดต่อกับ server หรือสีเขียว แสดงว่าติดต่อกับ server


การใช้งาน Graph ((ก๊าฟ ก๊าฟ ก๊าฟ เป็ดอาบน้ำในคลอง))
เมนูกราฟ(Menu Graph) เป็น เมนูที่แสดงข้อมูลของหลักทรัพย์ในรูปแบบกราฟเทคนิค เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ความเป็นไปของตลาด หรือศึกษาแนวโน้มของหลักทรัพย์ตัวที่สนใจ พร้อมทั้งมีเครื่องมือและ Indicatorสำหรับช่วยในการทำงานเกี่ยวกับกราฟอีกด้วย


หน้าแรกของ เมนูกราฟ แสดงกราฟของดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET Index)
1.แกน X. ในแนวนอน แสดงวัน เดือน ปีที่มีการซื้อขายหลักทรัพย์
2.แกน Y ในแนวตั้ง แสดงมูลค่าการซื้อขาย หน่วยเป็นพันล้านบาท
3.เมื่อนำเมาส์ไปคลิกบนตัวกราฟ จะเกิดเส้นแนวตั้งสีขาวใช้วัดค่าของดัชนี SET ในวันที่สนใจ
4.ด้านมุมขวาบนของหน้าต่าง Graph มีสัญลักษณ์รูปตัว T ถ้าใช้เมาส์คลิก จะแสดงแถบอุปกรณ์ (Tool Bar) สำหรับใช้งานกราฟเทคนิค

การอ่านค่าต่างโดยใช้ vertical line
1. ใช้เมาส์คลิกที่พื้นผิวของกราฟ จะเห็นเส้นสีขาวในแนวตั้ง พร้อมกับหน้าต่างแสดงค่าของจุดตัดบนเส้นกราฟ
(Removeable Label) การอ่านค่าของหลักทรัพย์ตัวนั้น
2. ตำแหน่งต่างๆบนตัวกราฟ ทำได้โดยใช้เมาส์หรือลูกศรบนคีย์บอร์ด เลื่อนเส้นสีขาวไปทางซ้ายและขวาตามต้องการ หน้าต่าง
แสดงค่าของจุดตัด ก็จะเปลี่ยนแปลงไปตามค่าของกราฟด้วย

การใส่คำสั่งเพื่อดูหุ้น
1. กดปุ่ม Space Bar ( เคาะ)
2. จะเกิดช่องสี่เหลี่ยมสีขาวด้านบนซ้าย
3. สามารถใส่ชื่อหุ้นหรือคำสั่งต่างๆได้ที่ช่องดังกล่าว
4. กด Enter ระบบจะดึงข้อมูลกราฟหลักทรัพย์ดังกล่าวขึ้นมา


การ Zoom In และ Zoom out
1. ท่านสามารถกดปุ่ม Insert เพื่อ Zoom In
2. ท่านสามารถกดปุ่ม Delete เพื่อ Zoom Out

หรือท่านสามารถเลือก Zoom เฉพาะที่ท่านสนใจได้
1. ให้ท่านคลิกขวาที่ mouse ค้างไว้
2. ให้ท่านลาก mouse จากทางซ้ายไปทางขวาให้เกิดพื้นที่สีเหลือง
3. ให้ปล่อย mouse ขวาที่คลิกค้างไว้
4. โปรแกรมจะทำการ Zoom บริเวณพื้นที่สีเหลืองที่เราลากไว้




ช่วงกราฟ และ ชนิดของ Scale
แกน Y ของกราฟเทคนิค สามารถกำหนดราคาสูงสุด และราคาต่ำสุดที่ต้องการได้ รวมไปถึง การเพิ่มช่วงห่างระหว่างค่าที่กำหนดได้

วิธีการใช้งาน
1. ให้นำเมาส์มาวาง บริเวณพื้นที่ด้านบนขวามือของหน้ากราฟ
2. คลิกเมาส์ขวา จะปรากฏช่อง Scale ขึ้นมา




3. สามารถเพิ่มราคาสูงสุด ที่ช่อง Max หรือใช้เครื่องหมาย + เพื่อเพิ่มช่วงราคา - เพื่อลดช่วงราคา
4. สามารถลดราคาต่ำสุด ที่ช่อง Min หรือใช้เครื่องหมาย + เพื่อเพิ่มช่วงราคา - เพื่อลดช่วงราคา
5. สามารถเพิ่มช่วงห่างของราคา ได้ที่ช่อง Increment

ชนิด scale กราฟ
Scale เป็นตัวกำหนดอัตราการแสดงผลของกราฟในอัตราส่วนต่าง ๆกัน ซึ่งในกราฟเทคนิค จะประกอบไปด้วยscale ทั้งหมด 3 รูปแบบ ดังต่อไปนี้

1. Linear Scale ตัวเลข ปกติ (ค่าของดัชนี)




2. Log Scale ที่เป็นค่า Logarithm




3. % Scale ที่คำนวณจากการเปลี่ยนแปลง คิดเป็นเปอร์เซ็นต์




วิธีการใช้งาน
1. ให้นำเมาส์มาวาง บริเวณพื้นที่ด้านบนขวามือของหน้ากราฟ
2. คลิกเมาส์ขวา จะปรากฏช่อง Scale ขึ้นมา




3. สามารถเปลี่ยนเป็น Scale ที่เป็นค่า Logarithm โดยเลือกที่ Log Scale
4. สามารถเปลี่ยนเป็น Scale ที่เป็นค่า % โดยเลือกที่ % Change

การดูกราฟแบบ History หรือ ดูข้อมูลย้อนหลัง
กราฟที่แสดงบนหน้าจอในตอนเริ่มต้น โดยปกติแล้วถือว่าเป็น History Mode อยู่แล้ว คือแสดงข้อมูลตั้งแต่วัน
ล่าสุดที่ตลาดเปิดทำการ ย้อนหลังไปถึง100 วันที่แล้ว ผู้ใช้เพียงแต่กำหนดค่าต่าง ๆ เช่น ชื่อหลักทรัพย์วันเริ่มต้น วันสิ้นสุด
ของกราฟ ก็สามารถใช้งานได้ ถ้าต้องการเปลี่ยนแปลงการดูกราฟเป็นแบบ Intraday สามารถดูได้จากการดูกราฟแบบ
Intraday

วิธีการตั้งค่าเพื่อดูข้อมูลย้อนหลัง
1. ให้ท่านคลิกที่ตัว T มุมบนขวาเพื่อเรียก Tool Bar ขึ้นมาก่อน






2. จากนั้นไปตั้งค่าตรงวันที่ว่าต้องการดูข้อมูลตั้งแต่วันไหนถึงวันไหน
3. แล้วคลิกที่ปุ่ม GO

กรณี ต้องการให้กราฟทุกตัวที่เลือกขึ้นมามีข้อมูลย้อนหลังตามที่กำหนด
1. หลังจากการตั้งค่าว่าต้องการดูข้อมูลย้อนหลังมากแค่ไหนแล้ว
2. ให้ไปคลิกที่เครื่องหมายรูปสมุดที่ Tool Bar




3. เลือก Show all record
4. โปรแกรมจะเตือนว่า การแสดงข้อมูลของกราฟทั้งหมดอาจทำให้เครื่องทำงานช้าลง เครื่องที่ใช้ความมีความเร็ว 2.0 GHz




หน่วยความจำ RAM 512 MB ถ้าสเปคคอมพิวเตอร์ของคุณมาสเปคถึงก็ตอบ Yes ถ้าไม่ตอบ No

การดูกราฟแบบ Intraday หรือการดูแบบรายนาที
กราฟ Intraday คือ กราฟแสดงข้อมูล ระหว่างที่ตลาดเปิดทำการ Real Time โดยผู้ใช้สามารถกำหนด
ช่วงเวลาที่ต้องการดูเป็นรายนาทีตั้งแต่ 0, 1, 2,3,4,5, 10, 15, 30, 60, 120 และ 240 นาทีได้


วิธีการใช้งาน
1. กดปุ่ม Space Bar แล้ว เลือกใส่ช่วงเวลาที่ต้องการ ตั้งแต่ 0, 1, 2,3,4,5, 10, 15, 30, 60, 120 และ 240
นาที




2. เมื่อได้ช่วงเวลาที่กำหนด แล้วกด Enter มุมบนซ้ายของหน้าจอกราฟ จะปรากฏกราฟแสดงแท่งเป็นช่วงเวลาที่เลือก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น